ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“สมัชชาคนตาบอดแห่งชาติ ครั้งที่ 22 , งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก”

บทสัมภาษณ์ : เสียงบรรยายในงานงานสมัชชาคนตาบอดแห่งชาติ ครั้งที่ 22 และ งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ออกอากาศ : วันอาทิตย์ที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒ รายการรวมใจเป็นหนึ่ง

          ในงานสมัชชาคนตาบอดแห่งชาติ ครั้งที่ 22 ในระหว่างวันที่ 20-24 เมษายน 2562 จังหวัดสุรินทร์ที่ผ่านมา โดยงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้แผนแม่บทอาเซียน รวมถึงการระดมความคิดเห็นในการส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านต่าง ๆ ของคนตาบอดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมจัดนิทรรศการ บูธแสดงและจำหน่ายสินค้า ฝึกอาชีพคนตาบอด เวทีบันเทิงต่าง ๆ และกิจกรรมอื่นอีกมากมาย โดยมีคนตาบอดจากทั่วประเทศ และตัวแทนคนตาบอดจากกลุ่มประเทศอาเซียนร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ในงานสมัชชาคนตาบอดแห่งชาติ ครั้งที่ 22 ในระหว่างวันที่ 20-24 เมษายน 2562 จังหวัดสุรินทร์ที่ผ่านมา โดยงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้แผนแม่บทอาเซียน รวมถึงการระดมความคิดเห็นในการส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านต่าง ๆ ของคนตาบอดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมจัดนิทรรศการ บูธแสดงและจำหน่ายสินค้า ฝึกอาชีพคนตาบอด เวทีบันเทิงต่าง ๆ และกิจกรรมอื่นอีกมากมาย โดยมีคนตาบอดจากทั่วประเทศ และตัวแทนคนตาบอดจากกลุ่มประเทศอาเซียนร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

          ซึ่งในงานครั้งนี้ทางศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาคนตาบอด เป็นส่วนหนึ่งในการให้คำแนะนำกับผู้ร่วมงานในด้านของเทคโนโลยี สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนตาบอด โดยได้รับความสนใจอย่างมาก กิจกรรมในระหว่างสมัชชาคนตาบอดแห่งชาติประกอบด้วย การประชุมเชิงปฏิบัติการต่าง ๆ อาทิ ดนตรี การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเทคโนโลยีเป็นต้น มีการประชุม ACBF ( ASEAN community Blind forum) ครั้งที่ 7 ซึ่งมีตัวแทนคนตาบอดจากกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น พม่า เวียดนาม บรูไน มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์  มีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับการส่งเสริมสิทธิโอกาสและความเท่าเทียมในการดำรงชีวิตของคนตาบอดในสังคม  การจัดแสดงจำหน่ายผลิตภัณฑ์คนตาบอดทั่วประเทศและการประกวดดนตรีโฟล์คซองโดยมีคนตาบอดและผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้กว่า 1,000 คน

          ผลจากการจัดกิจกรรม จะทำให้ ผู้นำคนตาบอดและผู้ที่เกี่ยวข้องจากทั่วประเทศมีความรู้ถึงกฎหมายและนโยบายฐานสิทธิที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนตาบอด ได้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงโอกาส ของการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทางเศรษฐกิจของคนตาบอดภายใต้สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน

 

งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

 

          พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นโบราณราชประเพณีที่ต้องทำเพื่อความเป็นพระมหากษัตริย์อย่างสมบูรณ์ ดังความใน “จดหมายเหตุพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” ว่า “...ตามราชประเพณีในสยามประเทศนี้ ถือเป็นตำราแต่โบราณว่า พระมหากระษัตริย์ซึ่งเสด็จผ่านพิภพต้องทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกก่อน จึงจะเป็นพระราชาธิบดีโดยสมบูรณ์ ถ้ายังมิได้ทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอยู่ตราบใดถึงจะได้ทรงรับรัชทายาทเมื่อเสด็จเข้าไปประทับอยู่ในพระราชวังหลวง ก็เสด็จอยู่เพียง ณ ที่พักแห่งหนึ่งพระนามที่ขานก็คงใช้พระนามเดิม เปนแต่เพิ่มคำว่า “ซึ่งทรงสำเร็จราชการแผ่นดิน” เข้าข้างท้ายพระนาม แลคำรับสั่งก็ยังไม่ใช้พระราชโองการ จนกว่าจะได้สรงมุรธาภิเษก ทรงรับพระสุพรรณบัฏจารึกพระบรมราชนามาภิธัยกับทั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์จากพระมหาราชครูพราหมณ์ผู้ทำพิธีราชาภิเษกแล้ว จึงเสด็จขึ้นเฉลิมพระราชมณเฑียร ครอบครองสิริราชสมบัติสมบูรณ์ด้วยพระเกียรติยศ

แห่งพระราชามหากระษัตริย์แต่นั้นไป...”  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นราชประเพณีคู่สังคมไทยมายาวนานโดยได้รับอิทธิพลจากคติอินเดียแต่ลักษณะการพระราชพิธีแต่เดิมมีแบบแผนรายละเอียดเป็นอย่างไรไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แม้แต่การเรียกชื่อพิธีก็แตกต่างกันออกไปในแต่ละสมัย เช่น สมัยอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเรียกว่า “พระราชพิธีราชาภิเษก” หรือ “พิธีราชาภิเษก” ส่วนในปัจจุบันเรียกว่า “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก”

 

แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ สำหรับ “น้ำสรงมุรธาภิเษก” มีจำนวน 9 แหล่งน้ำ ประกอบด้วย น้ำจากแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ 5 สาย เรียกว่า “เบญจสุทธคงคา" (เบ็น-จะ-สุด-ทะ-คง-คา) เริ่มใช้ครั้งแรกในพระราชพิธีราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้แก่

 

1.แม่น้ำบางปะกง ตักที่ตำบลพระอาจารย์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก

 

2.แม่น้ำป่าสัก ตักที่ตำบลท่าราบ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี

 

3.แม่น้ำเจ้าพระยา ตักที่ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง

 

4.แม่น้ำราชบุรี ตักที่บริเวณสามแยกคลองหน้าวัดดาวดึงส์ ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

 

5.แม่น้ำเพชรบุรี ตักที่บริเวณท่าน้ำวัดไชยศิริ ตำบลสมอพลือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี รวมทั้งน้ำจากสระน้ำศักดิ์สิทธิ์อีก 4 สระในจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ สระเกษ สระแก้ว สระคา สระยมนา

 

          จากนั้นเมื่อพระมหากษัตริย์สรงพระมุรธาภิเษก (สง-พระ-มุ-ระ-ทา-พิ-เสก) แล้ว จะเสด็จไปประทับทรงรับ “น้ำอภิเษก” ที่พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ (อัด-ถะ-ทิด-อุ-ทุม-พอน-ราด-ชะ-อาด) ซึ่ง “อภิเษก” หมายถึง การรดน้ำที่พระหัตถ์ เสมือนผู้น้อยรดน้ำอวยพรผู้ใหญ่ หรือเป็นการยอมรับผู้ที่ขึ้นมาเป็นใหญ่ โดย “น้ำอภิเษก” ตักมาจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์จำนวน 108 แหล่งน้ำ ประกอบด้วย แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัด 76 จังหวัด และน้ำศักดิ์สิทธิ์จากหอศาสตราคม ในพระบรมมหาราชวัง จำนวน 1 แหล่งน้ำ

          "น้ำสรงมุรธาภิเษก” และ “น้ำอภิเษก” เป็นน้ำที่ตักจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ และผ่านการทำ "พิธีพลีกรรมตักน้ำ" ซึ่งเป็นพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ตามความเชื่อว่า สิ่งต่าง ๆ บนโลก ล้วนมีเทวดาปกป้อง ดูแลรักษา การจะทำสิ่งใด ๆ ต้องขออนุญาตเทวดาที่ดูแลรักษาสิ่งนั้น ๆ การทำพิธีพลีกรรมตักน้ำ จึงเป็นการทำพิธีขออนุญาตเทวดาที่ปกป้องรักษาแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ของแต่ละจังหวัดเพื่อตักน้ำในแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์นั้นมาทำ น้ำอภิเษก และน้ำสรงมุรธาภิเษกนั่นเอง

 

รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz และ AM 1161 kHz

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181