ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

นานาสาระ โรคลมแดด

          โรคฮีทสโตรค หรือ โรคลมแดด มักเกิดในช่วงหน้าร้อน เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เบื้องต้นอาจแสดงอาการเป็นตะคริวแดด (Heat cramps) หรือมีอาการเพลียแดด (Heat exhaustion) เมื่อยล้า อ่อนเพลีย หน้ามืด ปวดศีรษะ เป็นลม บางรายอาจมีอาการทางสมอง เช่น หมดสติ พูดจาสับสน ชัก  โดยวัดอุณหภูมิแกนกลางของร่างกายทางทวารหนักได้สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

          สาเหตุของโรคลมแดด สาเหตุที่สำคัญของโรคลมแดด แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง เมื่อต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงหรืออยู่กลางแดดเป็นเวลานาน ส่งผลให้อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นและไม่สามารถระบายความร้อนออกไปได้ตามปกติ เช่น เมื่อต้องอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนและชื้นเป็นเวลา 2 หรือ 3 วันติดต่อกัน มักจะเกิดขึ้นบ่อยกับผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง

การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังมาก เมื่อออกกำลังกายหรือทำกิจรรมที่ใช้กำลังมาก โดยเฉพาะเมื่อทำกิจกรรมในสถานที่ที่มีอากาศร้อนจัดมักเป็นเหตุทำให้เกิดโรคลมแดดได้ อย่างไรก็ตาม โรคลมแดดประเภทนี้อาจเกิดขึ้นได้แม้ไม่ได้อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อน

          อาการของโรคลมแดด วิงเวียนศีรษะ มึนงง หน้ามืด หรือเป็นลมหมดสติ มีสภาพจิตใจหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่นสับสนมึนงง กระสับกระส่าย หงุดหงิด พูดไม่ชัด มีอาการเพ้อ หรือไม่สามารถทรงตัวได้ มีอาการปวดศีรษะตุบ ๆ คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการชัก 

          วิธีการรักษาเพื่อให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง ได้แก่ ให้ผู้ป่วยอาบน้ำเย็นหรือแช่ตัวลงไปในน้ำเย็น เป็นวิธีที่จะช่วยให้อุณหภูมิในร่างกายลดลงได้อย่างรวดเร็ว แพทย์บางท่านจะใช้เทคนิคการระเหย โดยใช้น้ำเย็นชโลมตามผิวหนังของผู้ป่วยและใช้พัดลมเป่าให้เกิดการระเหย ซึ่งเป็นอีกวิธีที่จะช่วยให้ร่างกายเย็นลง ใช้แพ็คน้ำแข็งประคบไปที่บริเวณรักแร้ ขาหนีบ คอและหลัง เพราะบริเวณดังกล่าวจะมีเส้นเลือดที่ใกล้กับชั้นผิวหนังอยู่จำนวนมาก วิธีนี้จะช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายได้เป็นอย่างดี พยายามทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงมาที่ประมาณ 38.3-38.8 องศาเซลเซียส โดยคอยเฝ้าดูด้วยเทอร์มอมิเตอร์ ในขณะที่ยังคงใช้วิธีรักษาเพื่อลดอุณหภูมิในร่างกาย หากผู้ป่วยยังรู้สึกตัว ควรให้ดื่มน้ำเย็นที่ไม่มีส่วนผสมของคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ วิธีการรักษาเพื่อทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลงอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการหนาวสั่น ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอุณหภูมิในร่างกายเพิ่มขึ้น แต่ทำให้วิธีการรักษาโรคลมแดดมีประสิทธิภาพลดลง แพทย์จึงอาจให้ผู้ป่วยใช้ยาที่ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวลง เช่น ยาเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepine) เพื่อบรรเทาอาการหนาวสั่น

 

 

แนะนำและติชมรายการได้ที่ รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ถ.ศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ รายการรวมใจเป็นหนึ่ง : ออกอากาศ ๖ เมษายน ๒๕๖๒

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก