ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“งานการออกแบบเพื่อคนทั้งมวลในระดับสากล”

บทสัมภาษณ์ : ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี คณบดีและนักวิชาการด้าน Universal Design ออกอากาศ : วันอาทิตย์ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒ รายการรวมใจเป็นหนึ่ง

          เมื่อตอนเรียนปริญญาโทต้องพัฒนาหัวข้อ Thesis “ธีสิส” ต้องหาหัวข้อสิ่งที่ตนเองสนใจ โดยเริ่มจากเรามีความสนใจในเรื่องโรงเรียนทางเลือกแบบวอลดอร์ฟ “Waldorf”ที่เน้นการให้เด็กทำกิจกรรมนอกห้องเรียน อยู่กับธรรมชาติ ศึกษาแนวคิดนี้และปรึกษางานวิจัยจากอาจารย์อีกหลายท่าน และได้ไอเดียจาก อาจารย์ท่านหนึ่งที่จบการศึกษาจากประเทศญี่ปุ่น ในด้านยูนิเวอร์เเซล ดีไซน์ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่มากในยุคนั้น ในช่วงนั้นเป็นปี 2544 หรือเมื่อ16 ปีที่แล้วเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับวงการ จึงเกิดความสนใจในเรื่องนี้มากกว่าเรื่องแรกที่ได้คิดไว้ 

          ในสมัยก่อนจะเน้นเรื่องนี้ยังไม่มีเรื่องผู้สูงอายุเข้ามา หลังจากที่ได้ศึกษาและเห็นความน่าสนใจของเรื่องนี้ จึงได้เปลี่ยนหัวข้อวิจัยเป็นเรื่อง ยูนิเวอร์เเซล ดีไซน์ กับบ้านของคนไทย และงานวิจัยนี้ยังได้รับรางวัลในด้าน Universal Design and Visitability ที่ The Ohio State University อเมริกา เนื่องจากเป็นขบวนการที่ใหม่ทำในบริบทไทย ซึ่งในตอนนั้นยังไม่ค่อยมีคนทำ เรื่องนี้เลยกลายเป็นความเชี่ยวชาญของตัวเองไปในที่สุด และด้วยความสนใจจึงนำเรื่องนี้ไปวิจัยต่อในระดับปริญญาเอก แต่ปรับเปลี่ยนเป็นความสนใจในงานเชิงผังเมือง ตั้งคำถามถึงนโยบายและกลไกการนำกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่สาธารณะมาบังคับใช้

          พอทำศูนย์วิจัยจะตอบทุกโจทย์ในทุกกระบวนการ ขั้นตอนแรกคือต้องหาทุนวิจัย เพื่อได้ทีมมาช่วยทำวิจัย ในตอนนั้นมีสำนักงานกองทุนส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ทุนเครือข่ายที่สนใจในเรื่องการพัฒนาคนพิการ ผู้สูงอายุ และเด็ก คนไร้บ้านเพื่อสังคม เราก็ยื่นไปขอทุน ได้ทุนมา 3 ปี จำนวน 7ล้านบาท เป็นเงินตั้งต้น การยื่นขอทุนคือต้องบอกว่าจะทำอะไรบ้าง คล้ายการยื่นรายละเอียดเสนอธีสิส สิ่งที่เสนอไปคือ รับออกแบบบริการวิชาการ ออกแบบบ้าน ป้ายรถเมล์ ปรับปรุงพื้นที่สำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุในชุมชน และออกแบบหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับยูนิเวอร์เเซล ดีไซน์ ซึ่งนี่คือการเตรียมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ความรู้ไม่ได้อยู่ที่ตัวผู้สอนอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ อยู่ในทุกๆที่ เช่น ในคนพิการที่มีประสบการณ์ตรงในการใช้สภาพแวดล้อม ในแหล่งข้อมูลออนไลน์ที่ต้องอาศัยการกลั่นกรอง หรือ ที่เรียกว่า information literacy ที่คนรับข้อมูลข่าวสารจะต้องเรียนรู้ทีจะเอาไปใช้อย่างชาญฉลาด ดังนั้น การเรียนการสอน จึงมักใช้โจทย์จากสภาวการณ์จริง ในทุกรายละเอียดที่เกิดจากกระบวนการวิจัยหรือบริการวิชาการ ได้เอาไปลงกับการสอนในหลักสูตรวิชาเลือกในปริญญาต่างๆ และนำเอามาลงในโปรเจ็กต์ที่ได้ทุนมาด้วย ผลที่ได้คือไม่ใช่แค่ทำวิจัยแล้วเก็บไว้ในห้องสมุด แต่เป็นผลออกมาที่เป็นรูปเป็นร่างและเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

          ในส่วนงานวิจัยจะส่งเสริมการทำวิจัยร่วมกันกับอาจารย์สาขาอื่นๆ และตอนนี้ยังเป็นอาจารย์สอนในวิชา ยูนิเวอร์เเซล ดีไซน์ ในปริญญาโทและเอก ในส่วนตัวคิดว่าในส่วนงานบริหาร ตอนนี้จะเริ่มพัฒนาในเรื่องกายภาพก่อนในปีแรก เพราะปรับปรุงได้ง่ายที่สุด ทั้งห้องน้ำ อินเทอร์เน็ต ปรับปรุงอาคารกว่าสามสิบปี ไม่ใช่ว่าออกไปพัฒนาด้านนอกให้ดีขึ้น แต่สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวยังไม่เอื้ออำนวยก็ไม่ใช่ แผนนอกจากนี้ยังอยากทำให้เป็นกรีนแคมปัส ทั้งเป็นมหาลัยที่มีธรรมชาติ มีพื้นที่สีเขียว ลดขยะ และใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจ สำหรับอนาคตสถาปนิก นักออกแบบ และศิลปินอีกด้วย

 

รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz และ AM 1161 kHz

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181