ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“ความจำเป็นและล่ามภาษามือในรายการโทรทัศน์”

บทสัมภาษณ์ : คุณวิทยุต บุนนาค นายกสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย ออกอากาศ : วันเสาร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒ รายการรวมใจเป็นหนึ่ง

          ล่ามภาษามือ คือ บุคคลที่ทำหน้าที่แปลข้อความระหว่างคนหูหนวกกับคนที่สามารถได้ยินเสียงได้ โดยการแปลจากภาษาพูดเป็นภาษามือ ให้กับคนหูหนวกได้เข้าใจเนื้อหา ถือเป็นตัวกลางของการสื่อสาร ความแตกต่างทางภาษามือแต่ละที่ ทุกประเทศมีภาษามือเฉพาะ เป็นภาษามือมีลักษณะเฉพาะของแต่ละประเทศ สำหรับในประเทศไทยคนปกติมีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ แต่คนหูหนวกมี "ภาษามือไทย" เป็นภาษาประจำชาติของคนหูหนวกเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีภาษามืออีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า ภาษามือสากล จะใช้ในโอกาสที่คนหูหนวกจากหลายๆ ประเทศมาประชุมร่วมกัน

         ในประเทศไทยของเรามีภาษามือ 2 ประเภท ประเภทแรก คือ ภาษามือธรรมชาติหรือภาษามือของคนหูหนวกในชุมชนใหญ่ทั่วไป ที่ีมีแบบแผนชัดเจน อีกชนิดหนึ่ง เป็นภาษามือแบบภาษาพูด คือเป็นภาษามือสำหรับคนใช้ภาษามือทั่วไป เช่น คุณครู ญาติพี่น้อง ใช้สื่อสารกับคนหูหนวก ใช้ภาษามือเรียงเป็นคำ ๆ เหมือนกับภาษาพูด อาทิ คำว่า "ฉันไปกินข้าว" ก็จะเป็นเรียงเป็นคำว่า ฉันไปกินข้าวตรงตามคำ ล่ามต้องมีทักษะการใช้ภาษามือที่ดี และทักษะในการสื่อสารภาษาไทยที่ดีด้วย มีความรู้เรื่องการเป็นล่ามภาษามือ เช่น เทคนิคของการแปล เทคนิคของการล่าม ที่สำคัญคือมีความรู้เรื่องของคนหูหนวกไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมคนหูหนวก วิถีชีวิต ชุมชน เจตคติที่มีต่อคนหูหนวก ล้วนแต่เป็นคุณสมบัติของคนที่จะเป็นล่ามภาษามือควรมี

         ในประเทศไทยมีล่ามภาษามือประมาณ 550 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ ล่ามหูดี มีประมาณ 450 คน และอีกส่วนประมาณ100 คนจะเป็นล่ามภาษามือที่เป็นคนหูหนวก นายไพรวัลย์เปิดเผยว่า จำนวนล่ามภาษามือในเมืองไทยเมื่อเทียบกับการมีล่ามมาตรฐานสากลถือว่าวิกฤติ ไม่พอเพียง เพราะในจำนวน 450 คน ซึ่งเป็นล่ามหูดี ไม่ได้ถูกใช้งานทั้งหมด เฉพาะที่สามารถให้บริการล่ามภาษามือ จริงๆ จะมีอยู่ประมาณ 50-60 คนเท่านั้น เพราะล่ามภาษามือส่วนใหญ่มีงานประจำกันอยู่แล้ว เช่น เป็นคุณครูในโรงเรียน เป็นต้น ต่อมาในเรื่องของคุณภาพของล่าม หรือทักษะในการเป็นล่ามให้ดี เพราะเมื่อให้บริการแล้ว จะมีคุณภาพของการสื่อสารที่ครบถ้วนจะได้เกิดกับคนหูหนวก นอกจากนั้นยังมีประเด็นของคนหูหนวกเอง เรื่องแรกคือ คนหูหนวกเอง ต้องรู้ภาษามือที่ล่ามใช้ ต้องพยายามสนับสนุนให้คนหูหนวกใช้ภาษามือได้ ไม่ใช่ชี้ไปชี้มาเป็นภาษาท่าทางแบบที่ชุมชนใช้กัน ต้องให้คนหูหนวกใช้ภาษามือ สื่อสารกับล่ามได้ ให้ล่ามเป็นตัวเชื่อมไปยังบริการอื่น ๆที่จำเป็นกับชีวิตของคนหูหนวก

         ต่อมาเป็นเรื่องของ การประเมินของคนหูหนวกในฐานะผู้รับบริการ เช่น ล่ามแปลภาษามือ คนหูหนวกเข้าใจภาษามือตรงนั้นหรือไม่ ล่ามมีบุคลิกภาพการแต่งกายเป็นอย่างไร ความตรงต่อเวลา คนหูหนวกในฐานะของคนใช้ ต้องรู้และเข้าใจวิธีการใช้ล่ามภาษามือ และวิธีการให้บริการของล่ามภาษามือได้

 

รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz และ AM 1161 kHz

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181