ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

รายงานสถานการณ์คนพิการ ปี 2552

รายงานการสำรวจประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2550, รายงานสถานการณ์๕นพิการ ปี 2551 , สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ,รายงานสถานการณ์คนพิการ ปี 2552 สำนักส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ

สถิติคนพิการ

 

สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำรวจคนพิการเมื่อปี 2550 พบว่า มีคนพิการจำนวนประมาณ1,871,860 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 2.9 ของประชากรทั้งหมด จำนวน 65,566,359 คน โดยเพศหญิงมีสัดส่วนที่สูงกว่าเพศชายเล็กน้อย คือ ร้อยละ 3.0 และร้อยละ 2.7 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุ 75 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 30.0 )และแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้

 

            ภาคเหนือ มีประชากรที่พิการสูงกว่าภาคอื่น ร้อยละ4.4

 

            ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 3.5

 

            ภาคใต้และภาคกลาง มีอัตราใกล้เคียงกันร้อยละ 2.3 และ 2.2

 

             กรุงเทพมหานคร มีประชากรที่พิการต่ำคือ ร้อยละ 0.5

 

สำนักส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ(พก.)ได้ดำเนินการจดทะเบียนคนพิการ ตั้งแต่ปี 2537 ตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 และปัจจุบัน ได้มีการเปลี่ยนแปลงจาการจดทะเบียนคนพิการ เป็นการออกบัตรประจำตัวคนพิการตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550

 

            ทั้งนี้คนพิการมีบัตรประจำตัวคนพิการแล้วจำนวน 855,973 ราย(ณ เดือน กันยายน 2552) เป็นชาย จำนวน 502,113 ราย หญิง จำนวน 353,860 ราย

 

กราฟแสดงคนพิการมีบัตรคนพิการ แบ่งตามภาค

 

1 กรุงเทพมหานคร 40,475 ราย

 

2ภาคกลางและภาคตะวันออก 195,943  ราย

3 ภาคเหนือ 195,729 ราย

4 ภาคใต้ 97,422 ราย

 

  

            จากภาพรวมการสำรวจคนพิการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2550 และข้อมูลคนพิการของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พบว่าคนพิการมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในสังคมมากขั้นและเป็นไปอย่างแข็งขัน ทำให้คนพิการรู้สึกมีคุณค่ามากขึ้นตามวิถีชีวิตปกติในครอบครัว ชุมชน สังคม

 

            โดยเฉพาะในส่วนภาคเมืองคนพิการได้เปลี่ยนสถานะตนเองจากผู้รับมาเป็นหุ้นส่วน (partner) และเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder)ชัดเจนขึ้น ซึ่งเป็นรูปธรรมการเข้าถึงสิทธิตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ โดยเฉพาะพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนจากการสงเคราะห์และฟื้นฟู เป็นสิทธิคนพิการ ทั้งนี้ สามารถนำมาประมวลเป็นสถานการณ์คนพิการ ในปี 2552 ดังนี้

 

 นิยามคนพิการ

 

พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 “คนพิการ”  หมายความว่า บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมเนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่างๆ และมีความจำเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป

*กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ประกาศกำหนดประเภทความพิการ 6 ประเภท ได้แก่ คนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย คนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย คนพิการทางการเห็น คนพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม หรือออทิสติก คนพิการทางสติปัญญา และคนพิการทางการเรียนรู้

       

ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม

 

*คนพิการมีส่วนร่วมในงานประเพณีของชุมชนเกือบทุกครั้ง แต่ยังขาดโอกาสเข้าร่วมประชุมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน รวมถึงการเข้าร่วมเวทีประชาคมที่จัดโดยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

คนพิการส่วนใหญ่ ยังไม่เป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆที่มีในชุมชน เช่นกลุ่มออมทรัพย์หรือกลุ่มอาชีพ แต่คนพิการที่เป็นสมาชิกจะมีการเข้าร่วมประชุมเกือบทุกครั้ง

คนพิการที่มีโอกาสเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการองค์กรของคนพิการ จะมีส่วนร่วมเป็นอย่างดีแต่คนพิการมีโอกาสเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการหรืออนุกรรมการของรัฐค่อนข้างน้อย

คนพิการเข้าร่วมรณรงค์กับองค์กรของคนพิการ ในการพิทักษ์สิทธิต่างๆมีค่อนข้างน้อย

คนพิการให้ความสำคัญกับการใช้สิทธิทางการเมืองอย่างมาก โดยไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้แทนระดับท้องถิ่นอย่างดี

การเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ทางภูมิสถาปัตย์

คนพิการมีความสะดวกและสามารถเข้าถึงบริการหน่วยงานของรัฐและเอกชนมากที่สุด คือ โรงพยาบาลของรัฐ ห้างสรรพสินค้า และสถานีอนามัยใกล้บ้าน ส่วนสถานที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการได้มากที่สุดคือ สถานีรถไฟ

คนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกายสามารถเข้าถึงบริการทุกประเภทได้มากที่สุด

คนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายมีปัญหามากที่สุดคือ การใช้โทรศัพท์สาธารณะ

คนพิการทางสติปัญญา มีความยากลำบากที่สุด ในการเข้าถึงบริการทุกประเภท

มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 เห็นชอบให้หน่วยงานราชการ ได้แก่โรงพยาบาล ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ/สำนักงานเขต ที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และสถานีตำรวจดำเนินการสำรวจและจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการเข้าถึงได้

ด้านสาธารณสุข

คนพิการที่มีอายุตั้งแต่อายุ 7 ปี ขึ้นไปมีความลำบากในการดูแลตนเอง หรือปัญหาสุขภาพ ส่วนใหญ่อยู่กับผู้ดูแล และส่วนหนึ่งไม่มีผู้ดูแล เป็นคนพิการรุนแรง จำนวน 239,782 คน

คนพิการและครอบครัว ต้องการการช่วยเหลือจากรัฐ โดยต้องการเงินสนับสนุน ต้องการให้พยาบาลมาเยี่ยมบ้าน ต้องรายได้และพาหนะเวลาจำเป็น

คนพิการสามารถเข้าถึงสิทธิตามระบบหลักประกันคุณภาพ จำนวน 557,345 คน โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่าย ครอบคลุมทุกประเภทความพิการ และทุกพื้นที่ โดยผ่านหน่วยบริการปฐมภูมิ ได้แก่สถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชน หน่วยทุติยภูมิ ได้แก่โรงพยาบาลชุมชน(รพช.)โรงพยบาลทั่วไป(รพท.)และหน่วยติตยภูมิ ได้แก่โรงพยาบาลศูนย์(รพศ.) และเป็นหน่วยที่เหนือขึ้นไป

 

ด้านการศึกษา

 

คนพิการที่ได้รับสิทธิด้านการศึกษา ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 และพระราชบัญญัติการศึกษาสำหรับคนพิการรวมจำนวน 276,129 คน โยแบ่งออกได้ดังนี้

 

เด็กพิการที่ได้รับการศึกษาที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ 13 เขต ศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัด 63 จังหวัด และโรงเรียนการศึกษาพิเศษ 43 โรงเรียน รวมจำนวน 272,506 คน

นักศึกษาพิการในโรงเรียนอาชีวศึกษาจำนวน 1,670 คน

นักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษาจำนวน1,953 คน

คนพิการได้รับการจัดการศึกษาใน 4 รูปแบบได้แก่ การเรียนร่วม การเรียนร่วมบางเวลา การเรียนร่วมแบบคู่ขนาน และการเรียนแบบเฉพาะทาง

 

 ด้านการจ้างงานและการประกอบอาชีพ

 

คนพิการที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 64.8 เป็นผู้ไม่มีอาชีพ หรือไม่มีงานทำ มีเพียงร้อยละ 35.2 มีงานทำ ส่วนใหญ่เป็นคนพิการสูงอายุร้อยละ 45.5 และร้อยละ 19.4 ของผู้พิการที่มีงานทำส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคเกษตรและประมง งานบริการ และขายแรงงาน รายได้ของคนพิการส่วนใหญ่ต่ำกว่า 7,000 บาท/เดือน

คนพิการได้รับการบริจาคจากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการฝึกอาชีพที่ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ จำนวน 9 แห่ง และการฝึกอบรมอาชีพในชุมชน จำนวนประมาณ 1,000 คนต่อปี สำหรับการกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพอิสระจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จำนวนประมาณ 3,000 คนต่อปี รวมถึงการฝึกอาชีพของกระทรวงแรงงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาเอกชนอื่นๆ

 ด้านสวัสดิการ

 

คนพิการได้รับสวัสดิการในสถานสงเคราะห์ทุกประเภท ได้แก่ คนพิการ คนไร้ที่พึ่ง รวม 20 แห่ง สามารถดูแลคนพิการได้ทั้งหมด ประมาณ 9,450 คน

คนพิการได้รับสวัสดิการเบี้ยยังชีพคนพิการ 500 บาท/คน/เดือน จำนวน 262,669 คน และรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนเบี้ยพิการอย่างทั่วถึงทุกคน เพิ่มขึ้นอีก ในปี 2553 จำนวนประมาณ 440,000 คน

รัฐมีการจัดสวัสดิการให้แก่คนพิการ ที่ครอบคลุมและหลากหลาย พบว่า สวัสดิการที่คนพิการเข้าถึงได้มากที่สุด คือสุขภาพ อนามัย รองลงมาเป็นด้านการศึกษา และที่เป็นปัญหามากที่สุด คือ การมีงานทำ และการมีรายได้

 

 

ด้านสื่อเทคโนโลยีสำหรับคนพิการ

 

คนพิการได้รับรู้ เรียนรู้ ตำราเรียน ข้อมูลข่าวสาร ในหลายรูปแบบ ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการผลิตและกระจายสื่อไปยังสถานศึกษาต่างๆ อย่างทั่วถึง ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล

กระทรวงศึกษาธิการโดยศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา(ศท.)และส่วนส่งเสริมการผลิตสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ(สสพ.) ดำเนินการผลิตและเผยแพร่สื่อการศึกษา เพื่อเสริมการเรียนการสอน ทั้งการศึกษาในระบบและนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำหรับคนพิการทุกประเภทอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพ

สื่อการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบอาทิเช่น การนำโปรแกรม Speech Viewer  มาใช้ เพื่อช่วยในการฝึกออกเสียงและฝึกพูด การจัดอุปกรณ์สัญญาณเสียง การพัฒนาโปรแกรมช่วยสื่อสารด้วยภาษาไทย การพัฒนามัลติมีเดีย ภาษามือไทย และการพัฒนาหนังสือเสียงเป็นต้น

 

ด้านการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร

 

คนพิการสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร จากโทรทัศน์มากที่สุด รองลงมา คือ วิทยุ โทรศัพท์มือถือ หนังสือพิมพ์รายวันและอินเทอร์เน็ตตามลำดับ

ข้อมูลข่าวสารที่คนพิการได้รับมีอยู่ 2 ระดับ คือข้อมูลข่าวสารทางวิชาการ ส่วนใหญ่เป็นคนพิการที่ได้รับการศึกษา เพราะข้อมูลข่าวสารเหล่านี้ จะอยู่ในเว็บไซต์ต่างๆ และข้อมูลจาการจัดกิจกรรมให้ความรู้

อีกส่วนคือ ข้อมูลข่าวสารทั่วไปเป็นข้อมูลข่าวสารที่สื่อสารผ่านช่องทางสาธารณะ เป็นเรื่องต่างๆ ที่คนพิการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องควรรู้ เช่น บริการต่างๆสำหรับคนพิการ ข่าวสารเกี่ยวกับคนพิการ กิจกรรมของกลุ่มคนพิการต่างๆ ซึ่งข่าวสารในส่วนนี้ ยังไม่เพียงพอในการสร้างความรู้ความเข้าใจในการเข้าถึงสิทธิของคนพิการอย่างแท้จริง

 

 

ภาพประกอบบทความวิชาการ

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก