ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

สรุปสาระสำคัญ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ

วันที่ลงข่าว: 01/05/13

 
สรุปสาระสำคัญ
 
 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ
Convention on the Rights of Persons with Disabilities (CRPD)
 
ความเป็นมา
                เนื่องจากกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่อาจประกันการคุ้มครองสอทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานและความเสมอภาคของคนพิการได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น ในปี พ.ศ.2545 องค์การสหประชาชาติจึงได้แต่งตั้งคณะทำงานยกร่างอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ(Convention on the Rights of Persons with Disabilities -CRPD) ขึ้น ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2549 ที่ประชุมเต็มคณะของสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญที่ 61 ได้มีมติรับรองอนุสัญญา CRPD และพิธีสารเลือกรับ (Optional protocol) ของอนุสัญญา CRPD
 
อนุสัญญา CRPD
                เป็นกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ส่งเสริมพิทักษ์และรับรองให้คนพิการได้รับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเสรีภาพขั้นพื้นฐานและมีความเสมอภาคอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งส่งเสริมการเคารพศักดิ์ศรีที่มีมาแต่กำเนิดของคนพิการอนุสัญญาฉบับนี้ยังเป็นอนุสัญญาฉบับแรก ที่ครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของคนพิการ ไม่เฉพาะด้านพลเมืองเท่านั้น แต่รวมถึงเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และชีวิตครองครัวอีกด้วย
 
อนุสัญญา CRPD ให้ความสำคัญในเรื่องต่อไปนี้
·       เคารพศักดิ์ศรีที่มีมาแต่กำเนิด การอยู่ได้ด้วยตนเองเสรีภาพในการตัดสินใจด้วยตนเอง และความเป็นอิสระของบุคคล
·       ไม่เลือกปฏิบัติต่อคนพิการ
·       การมีส่วนร่วม การเข้าร่วมของคนพิการได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพในสังคม
·       เคารพความแตกต่าง ยอมรับคนพิการว่าเป็นส่วนหนึ่งของความแตกต่างของมนุษยชาติและความเป็นมนุษย์
·       ความเทียมของโอกาส
·       การเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้
·       ความเสมอภาคระหว่างชายกับหญิง
·       การเคารพขีดความสารถของเด็กพิการที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและการเคารพสิทธิของเด็กพิการอย่างต่อเนื่องและการเคารพสิทธิของเด็กพิการเพื่อสงวนรักษาอัตลักษณ์แห่งตน

 
กฎหมายไทยที่สอดคล้องกับอนุสัญญา CRPD
·       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
·       พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2)พ.ศ.2545
·       พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545
·       พรบ.ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2546และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2)พ.ศ.2550
·       พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550
·       พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550
·       พรบ.การจัดการศึกษาสำรับคนพิการ พ.ศ.2551

สิทธิของคนพิการตามอนุสัญญา CRPD
·       สิทธิความเท่าเทียมและการไม่เลือกปฏิบัติ
·       สิทธิการมีชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงของบุคคล
·       สิทธิได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถตามกฎหมายบนพื้นฐานอันเท่าเทียมกัน
·       เสรีภาพจาการถูกทรมาน
·       เสรีภาพจาการถูกแสวงหาประโยชน์ การใช้ความรุนแรงและการล่วงละเมิด
·       สิทธิที่จะได้รับการเคารพต่อศักดิ์ศรี ทางร่างกายและจิตใจ
·       เสรีภาพในการย้ายถิ่นฐานและการถือสัญชาติ
·       สิทธิในการอาศัยอยู่ในชุมชน
·       เสรีภาพในการแสดงออและแสดงความคิดเห็น
·       สิทธิการเคารพการเป็นส่วนตัว
·       สิทธิการเคารพในการสร้างครอบครัว และสถาบันครอบครัว
·       สิทธิด้านสุขภาพ
·       สิทธิทางการศึกษา
·       สิทธิด้านการทำงาน
·       สิทธิสำหรับมาตรฐานความเป็นอยู่ที่เพียงพอ
·       สิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมืองและเรื่องสาธารณ
·       สิทธิการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม นันทนาการการผ่อนคลายยามว่างและกีฬา

บทบาทของรัฐภาคี
 
                ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญา CRPD  โดยการให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้ให้ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในอนุสัญญาตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป
                การเป็นรัฐภาคีมีนัยว่ารัฐบาลประเทศนั้นตระหนักว่ามีการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการมิได้ จะต้องเคารพ คุ้มครองและสิทธิที่พึงมีแก่คนพิการเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป นอกจานี้จะต้องมีการปฏิบัติดังนี้
1.             รัฐภาคีจะต้องกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบหลัก(Focal Point) เพื่อเป็นกลไกประสานงานภาครัฐ ดูแลประเด็นที่สนับสนุนการดำเนินงาน ในภาคส่วนต่างๆ และประเทศไทยได้กำหนดให้กระทรวงการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักตามอนุสัญญาฉบับนี้
2.             รัฐภาคีจะต้องจัดตั้งโครงสร้างภายใน เพื่อส่งเสริมพิทักษ์และติดตามการปฏิบัติตามอนุสัญญาฉบับนี้ เช่น ตั้งคณะกรรมการที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับอนุสัญญา โดยมีองค์ประกอบที่มาจากทุกภาคส่วน
3.             รัฐภาคีจะต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมโดยเฉพาะคนพิการ และองค์กรของคนพิการให้มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการติดตามการดำเนินงาน
4.             รัฐภาคีจะต้องมรการจัดทำรายงานเกี่ยวกับมาตรการในการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาภายในเวลา 2 ปี หลังจากอนุสัญญามีผลบังคับใช้ และหลังจากนั้นต้องส่งฉบับต่อๆ ไป อย่างน้อยทุกๆ 4 ปี หรือเมื่อคณะกรรมการร้องขอ

ที่มาของข่าว สำนักส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก