ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“ความสัมพันธ์ของครอบครัวคนพิการทางจิตกับผู้ดูแล”

ความสัมพันธ์ของครอบครัวคนพิการทางจิตกับผู้ดูแล

          คุณจินตนา กล่าวว่า เป็นมารดาของธนพร แสงสิระประภา ปัจจุบันเป็น นายกสมาคมสายใยน้ำใจแพร่ ที่ดูแลผู้ป่วยจิตเวช จังหวัดแพร่ และเป็นประธานศูนย์บริการคนพิการด้านจิตใจหรือพฤติกรรมจังหวัดแพร่

“ฟุตบอลคนหูหนวก”

ฟุตบอลคนหูหนวก

          คุณวัชรินทร์ เล่าว่า ผมเป็นพิธีกรอิสระ ทำเว็บไซต์การแปลข้อมูลภาษามือ อดีตเคยเป็นนักฟุตบอลทีมชาติคนหูหนวก ตอนแรกที่ได้รับโอกาสคือ ศึกษาที่ ราชภัฏสวนดุสิต จบปริญญาตรี สาขาครูการศึกษาพิเศษ เอกการศึกษาพิเศษ เคยได้เป็นครูประมาณ 2 ปี

ม.มหิดล – St. Mary’s University สหรัฐอเมริกา วิจัยฝึกใช้ขาเทียมทางไกล

          อาจารย์ ดร.มนัญชยา สามาลา อาจารย์ประจำโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้ให้เห็นถึงปัญหาของผู้พิการขาขาดที่มาเข้ารับบริการขาเทียม ณ โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ส่วนใหญ่กว่าจะสามารถใช้ขาเทียมในการเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงปกติ ต้องใช้เวลาในการฝึกใช้ขาเทียมถึง 3 เดือน ซึ่งขั้นตอนการเข้ารับบริการขาเทียมโดยทั่วไป เริ่มต้นจากการให้ผู้พิการขาขาดเข้ารับการตรวจประเมินโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และนักกายอุปกรณ์ เพื่อจัดทำแบบขาเทียมวางแผนการรักษาเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนใส่ขาเทียมและวางแผนการฝึกใช้ขาเทียม

การเป็นทนายความของคนตาบอด

การเป็นทนายความของคนตาบอด

          คุณปราโมทย์ กล่าวว่า ศึกษาจบคณะนิติศาสตร์ ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากเรียนจบได้เรียนเนติบัณฑิต และสอบตั๋วทนายจนสำเร็จ เดิมทำงานที่ ศูนย์กฎหมายตาทิพย์ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ตำแหน่งอนุกรรมการ ระหว่างศึกษาได้มีโอกาสเป็นวิทยากรให้กับศูนย์กฎหมาย ฯ ไปด้วย หลังจากได้ตั๋วทนายมาแล้วจึงมาสมัครเป็นเจ้าหน้าที่สมาคม ฯ มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและทำคดีต่างๆ ยื่นคำร้อง คำฟ้องต่างๆ ตัวอย่าง เช่น สมาชิกมายื่นคำร้องให้ฟ้องรับรองบุตร คือเป็นบิดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของบุตร กำลังดำเนินการอยู่ และอยู่ในขั้นตอนการรวบรวมเอกสารเพื่อยื่นคำร้องให้ศาล เป็นต้น

ทิศทางและโอกาสคนพิการ

ทิศทางและโอกาสคนพิการ

          เรื่องแรกอยากให้เป็นเรื่องของการศึกษาของคนพิการ สังเกตจากปีที่ผ่านมาได้พูดคุยกับคนพิการ ทั้งระดับปริญญาโท ปริญญาตรี ระดับ ปวช. ระดับ ปวส.

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่เพื่อคนตาบอด

          ปี พ.ศ. 2566 อาจจะยังไม่เห็นความแพร่หลายของการใช้เทคโนโลยีเพื่อคนตาบอดมากเท่าที่อยากเห็นกัน แต่จะมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ ดังเช่น การใช้คลื่นเสียงแทนแสงให้ติดตามกัน

          สำหรับคนมีปัญหาในการใช้สายตา ดังเช่น สายตาสั้น สายตายาว ต้อตากระจก ในปัจจุบันมีวิธีการแก้ไขและรักษาที่ได้ผล ดังเช่น การใช้แว่นตา การผ่าตัดต้อตากระจกด้วยเลเซอร์ แต่สำหรับคนตาพิการถึงระดับบอด ก็ได้มีความพยายามในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลายชนิดเพื่อช่วยคนตาบอด

“อาชีพพิธีกรคนหูหนวก”

รายการ D – มีดี

          คุณภัทรมน กล่าวว่า ตอนที่แม่ตั้งท้องแล้วป่วย เมื่อคลอดออกมากลายเป็นคนหูหนวกตั้งแต่กำเนิด ทำให้มีปัญหาและอุปสรรคตั้งแต่เล็กจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่เล็ก ๆ อยากสื่อสารกับแม่แต่ไม่สามารถทำได้ แต่ด้วยความที่อยู่กับแม่มาตลอด พยายามสื่อสารกันตลอด เมื่อโตขึ้นแม่ส่งไปเรียนที่ เชียงใหม่ การสื่อสารกับแม่ครั้งแรกใช้ท่าทาง เช่น เวลากินข้าวใช้ถือถ้วยและลักษณะการป้อน เป็นต้น และไม่ค่อยได้ไปคุยกะใครเพราะคุยกับเขาไม่รู้เรื่อง อาศัยเวลาไปโรงเรียน ได้ไปเจอเพื่อน ๆ และได้เรียนรู้ภาษามือ เรียนรู้ศัพท์ใหม่ ๆ เพราะเป็นโรงเรียนเฉพาะทางของคนหูหนวก และทางโรงเรียนมีครูภาษามือคอยสอน หลังจากจบ มัธยมศึกษาชั้นปีที

“ประวัติความเป็นมาของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์”

ประวัติความเป็นมาของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

          “ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นองค์กรที่ข้าพเจ้าตั้งใจจัดตั้งขึ้น เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตามพระราชปณิธานที่ทรงมุ่งหวังให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ได้มาตรฐาน โดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอน และการวิจัย ที่จะสร้างบัณฑิต และพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ที่มีจิตในการทำประโยชน์ให้ผู้อื่นก่อนคิดถึงประโยชน์ของตัวเอง พร้อมบริการสังคมด้วยความรู้ความชำนาญ คุณธรรมจริยธรรม จิตอาสา ความมุ่งมั่น และด้วยความเป็นเลิศในวิชาชีพเพื่อทุกชีวิตในสังคม อีกทั้งเป็นสถาบันที่ให้บริการทางการแพทย์ด้วยมาตรฐานสากลแก่ประชาชนอย่

“ศูนย์ช่วยคนตาบอดในประเทศไทยสู้ภัยโควิด -19”

 คุณเอกมล แพทยานันท์  นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย
          คุณเอกกมล กล่าวว่า ทางคณะกรรมการบริหารสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย เห็นว่า การฉีดวัคซีนเป็นทางออก และวิธีแก้ปัญหาในระยะยาว เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ เพื่อให้คนตาบอดสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ ประกอบอาชีพได้ ทางคณะกรรมการสมาคมฯ ได้ประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดสรรควัคซีน และ ฉีดให้คนตาบอด และในช่วงวันที่ 27 พ.ค. – 9 มิ.ย.

เด็กพิการชายขอบ ตอนที่ 2

เด็กพิการชายขอบ ตอนที่ 2

          คนชายขอบที่ข้ามฝั่งมาบ้านเรา เพราะบ้านเราเศรษฐกิจดี สวัสดิการดีกว่าเพื่อนบ้าน เพราะฉะนั้นเขาจะข้ามมารับจ้างเก็บใบชาได้วันละร้อยกว่าบาทเขาก็รู้สึกว่าดีแล้ว เมื่อมาแล้วมีลูกพิการอีก เจ็บป่วยรักษาฟรีก็เอาลูกข้ามเขามา แล้วปลูกกระท่อมอยู่บนดอยชายขอบมีหลายคนที่ทางมูลนิธิไปเจอ ถ้าช่วยในเรื่องสาธารณะสุขสามารถควบคุมโรคได้ เด็กที่พิการอยู่แล้วก็ไม่พิการเพิ่มขึ้นจะได้ไปดูแลให้สามรถช่วยเหลือตัวเองได้ สามารถพัฒนาตัวเองให้มีอาชีพมีรายได้เป็นของตนเอง ไม่เป็นภาระของครอบครัว ถ้าได้เรียนไม่ว่าเด็กจะมาจากชนชาติไหนมีโอกาสให้การศึกษาก็ควรให้ได้เขาเรียนจะช่วยได้ถ้าปล่อยไว้ก็เป็นปัญหาเรื้อรังไปเรื่อย ๆ

หน้า

^ กลับสู่เนื้อหาหลัก