ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การป้องกันและแก้ไขปัญหาในการเขียนสำหรับเด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้(Prevention and Intervention of Writing Difficulties for Students with Learning Disabilities) ตอนที่ 5

Steven Graham, Karen R. Harris, and Lynn Larsen (2001)

รีบเยียวยาเสียแต่เนิ่นๆ

หลังจากปลุก Snoopy ให้ตื่น Sally น้องสาวของ Charlie Brown ได้ขอคำแนะนำในเรื่องการเขียนSnoopy บอกในทันทีว่า ‘ได้เลย แต่อย่าอ้างชื่อฉันนะ’ หลังจากนั้นเธอก็ถามเจ้าสุนัขเพื่อขอความเห็นเกี่ยวกับชื่อเรื่อง ‘Our Animal Friends’ (เพื่อนที่เป็นสัตว์ของฉัน) มันก็คิดไตร่ตรอง ‘ดูออกจะอวดอ้างไปสักหน่อยนะ’ แล้วมันก็บอกเหตุผลอย่างไม่ไยดีโดยการย้อนถามว่า แล้วฉันจะช่วยเธอได้ยัง ไง ในเมื่อฉันไม่รู้จักสัตว์ที่ไหนสักตัว’

เช่นเดียวกับที่ Sally รู้ว่าตนเองต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม ความสนใจในการใช้การสอนเสริม หรือการเยียวยาตั้งแต่แรก เพื่อป้องกันหรืออย่างน้อยก็มีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาทางด้านการเขียนลงจึงมีมากขึ้น (Graham & Harris, in press) ความสนใจดังกล่าวตั้งอยู่บนสมมติฐานที่สำคัญที่สุดว่า แผนงานการเยียวยาแต่แรกจะก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าความพยายามที่มุ่งจะแก้ไขปัญหาเมื่อเรียนขึ้นไปในชั้นสูงๆแล้ว เป้าหมายพื้นฐานคือการช่วยนักเขียนที่ยังมีปัญหาให้ตามเพื่อนได้ทันแต่เนิ่นๆ ก่อนที่ปัญหานั้นจะยากเกินเยียวยา แผนงานดังกล่าวมุ่งจะเร่งรัดให้นักเขียนกลุ่มนี้ได้รับการพัฒนา โดยจัดการสอนเสริมให้ อาจเป็นกลุ่มเล็ก หรือไม่ก็เป็นการสอนพิเศษตัวต่อตัว

ปัจจุบัน มีการศึกษาเพียง 4 เรื่องเท่านั้น ที่สามารถตรวจสอบประสิทธิผลของแผนงานการเยียวยาเรื่องการเขียนแต่แรกเริ่มได้ ในการศึกษาแต่ละเรื่อง เด็กเล็กได้รับการสอนเป็นพิเศษในเรื่องการเขียนลายด้วยลายมือหรือไม่ก็การสะกดคำจากครูพิเศษอาวุโส อาศัยอุปกรณ์ช่วยในชั้นเรียน หรือผู้ปกครองอาสาสมัครในการศึกษาแต่เริ่มแรก (Berninger et al., 1997) เด็กระดับประถมปีที่ 1 ที่เขียนหนังสือไม่สวย ได้รับการสุ่มให้เป็น 1 ใน 5 กลุ่มที่เข้ารับการเยียวยาเรื่องลายมือ หรือโดยการใช้เงื่อนไขของการควบคุมประสาทสัมผัส (ได้แก่ การสอนความตระหนักในระบบเสียง) การเยียวยาเรื่องการเขียนด้วยลายมือประเมินออกมาได้เป็น 5 ทางเลือกในการเรียนรู้วิธีการเขียนอักษรตัวพิมพ์เล็ก ดังนี้ (1) เขียนตัวอักษรหลังจากเห็นครูเขียน (2) เขียนตัวอักษรหลังจากได้ตรวจสอบสำเนาตัวอักษร ว่ามีลูกศรซึ่งมีตัวเลขกำกับอยู่เพื่อแสดงลำดับและทิศทางของการลากแต่ละเส้น (3) เขียนตัวอักษรจากความจำหลังจากตรวจสอบสำเนาที่ไม่มีการทำเครื่องหมายกำกับ (4) เขียนตัวอักษรจากความจำหลังจากตรวจสอบสำเนาที่มีลูกศรกำกับด้วยตัวเลข (5) เขียนตัวอักษรในขณะที่มองสำเนาที่ไม่มีเครื่องหมายกำกับ หลังจากการเรียนกับครูพิเศษที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีนาน 8 ชั่วโมง เด็กที่เข้าร่วมในการเยียวยาทั้ง 5 กลุ่มแสดงให้เห็นการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นอย่างมากของเด็กในเรื่องการเขียนลายมือ มากยิ่งกว่าเด็กในชั้นเรียนที่อยู่ในเงื่อนไขของการควบคุมประสาทสัมผัสเสียอีก ด้วยการเยียว ยาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือวิธีการเขียนตัวอักษรจากความจำหลังจากตรวจสอบสำเนาที่มีลูกศรกำกับด้วยตัวเลข เด็กกลุ่มเดียวกันนี้เองได้คะแนนสูงกว่าในเรื่องของความราบรื่นและความต่อ เนื่องในการเขียน และในเรื่องของการประเมินความสามารถของเด็กในการสร้างประโยคโดยการวัดแบบอิงกลุ่ม สูงกว่าเด็กที่อยู่ในเงื่อนไขของการควบคุมประสาทสัมผัส หรือเงื่อนไขอื่นๆทางด้านการเขียน การค้นพบนี้สมควรได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพราะแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงจากการเรียนการสอนเรื่องการเขียน ไปเป็นการเขียนที่ถูกต้องราบรื่น อย่างน้อยก็คือกลุ่มที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเขียน

การตรวจสอบอย่างที่สองโดย Jones และ Christensen ได้นำเสนอเรื่องการค้นพบในเบื้องต้นนี้ โดยการพิสูจน์ให้เห็นว่า การสอนเรื่องการเขียนลายมือเพิ่มเติมช่วยแก้ไขไม่เพียงเรื่องของการเขียนลายมือของเด็กชั้นประถมปีที่ 1 ที่ลายมือไม่สวยเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของคุณภาพของการเขียนด้วยเช่นกัน ตลอดหลักสูตรที่ยาวนาน 8 สัปดาห์ เด็กที่เข้าอบรมได้รับการสั่งสอนเรื่องการเขียนลายมือเป็นพิเศษ (ทั้งเป็นรายตัวและเป็นกลุ่มเล็ก) จากการช่วยเหลือของครูหรือผู้ปกครองอาสาสมัคร (วันละ 10 นาที) การสอนมุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้วิธีการเขียนอักษรตัวพิมพ์เล็ก การแก้ไขตัวอักษรที่เขียนผิดรูปแบบ และการเขียนตัวอักษรได้อย่างราบรื่น เมื่อเวลา 8 สัปดาห์สิ้นสุดลง คุณภาพในการเขียนลายมือและเขียนเรื่องของเด็กที่ได้รับการสอนหลักสูตรพิเศษนี้ มีการพัฒนาไปจนถึงจุดที่ไม่อาจแยกออกระหว่างเด็กที่มีอาการของ LD และเพื่อนร่วมชั้นที่เป็นปกติ ซึ่งมีลายมือและเขียนเรื่องได้ดีกว่ามาตั้งแต่แรก

การศึกษาเรื่องที่สาม โดย Graham, Harris, และ Fink เป็นการทำซ้ำของการค้นพบแต่แรก ที่ว่าการสอนเรื่องการเขียนลายมือเพิ่มเติม จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเขียนของเด็กให้ราบรื่นขึ้นได้ แต่ก็ยังไม่ได้เป็นการทำซ้ำในเรื่องของคุณภาพการเขียนแต่อย่างใด เด็กระดับประถมปีที่ 1 ที่เขียนหนังสือไม่สวย ได้รับมอบหมายโดยการสุ่ม ด้วยเงื่อนไขของการเข้ารับการเยียวยาเรื่องลายมือไม่สวย และเงื่อนไขในเรื่องการควบคุมประสาทสัมผัส (ได้แก่ การสอนความตระหนักในระบบเสียง) การเยียวยาเรื่องลายมือประกอบด้วยการสอนเรื่องการเรียกชื่อ การระบุชื่อ และการเขียนตัวอักษรตัวพิมพ์เล็ก และการทำแบบฝึกหัดการเขียนซ้ำอีกครั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเขียน หลังจากการเรียนการสอนประมาณ 7 ชั่วโมง ที่จัดโดยครูที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นพิเศษ เด็กที่เข้ารับการเยียวยาเรื่องลายมือ มีการพัฒนาเรื่องการเขียนลายมือมากกว่ามากกว่าเด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่เข้าเรียนรู้เรื่องการควบคุมประสาทสัมผัส และยังแสดงให้เห็นด้วยว่าพวกเขาได้ประโยชน์อย่างยิ่งในการคิดประดิษฐ์ประโยคต่างๆ ด้วยตามอ้างไว้ใน Berninger et al. และสามารถคิดเขียนเนื้อหาได้เองเมื่อจะเขียนเรื่อง อย่างไรก็ตาม การสอนเรื่องการเขียนลายมือนั้น ไม่ได้ช่วยให้คุณภาพโดยรวมของการเขียนเรื่องของเด็กดีขึ้นแต่อย่างใด ในการติดตามผลของการตรวจสอบนาน 6 เดือน ประโยชน์ส่วนมากที่กลุ่มเขียนลายมือได้รับยังคงเหมือนเดิม รวมทั้งเรื่องความเป็นเยี่ยมในเรื่องของการสร้างประโยค (ถึงกระนั้น ก็ไม่อาจหาข้อสรุปด้านการเขียนเรื่องได้ เนื่องจากการวัดผลในครั้งนี้ไม่ได้มุ่งไปทางด้านนี้)

ตรงกันข้ามกับการตรวจสอบ 3 เรื่องแรก การศึกษาเรื่องที่สี่ ที่ Berninger et al. เป็นผู้ทำนั้น มุ่งเน้นไปที่ผลกระทบต่อการสอนเสริมเรื่องการสะกดสำหรับด้านการเขียน เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เคยสะกดคำไม่ได้ จะถูกสุ่มคัดเลือกไปเข้ากลุ่มเยียวยาเรื่องการสะกดคำ 7 กลุ่ม และอีกหนึ่งกลุ่มทางด้านการควบคุมประสาทสัมผัส (เช่น การรับคำแนะนำให้ตระหนักรู้ในทักษะด้านเสียงและการสะกดการันต์) ครูพิเศษที่ได้รับการฝึกมาโดยเฉพาะจะให้เวลาสอนแก่นักเรียนประมาณ 8 ชั่วโมง เด็กๆในกลุ่มการสะกดคำจะได้รับประโยชน์ในการสะกดคำมากกว่าเด็กในกลุ่มที่ใช้เงื่อนไขของการควบคุมด้วยประสาทสัมผัส  สำหรับกลุ่มหนึ่งที่ทดลองนั้นยังแสดงว่า การสอนการสะกดคำมีผลช่วยพัฒนาให้การแสดงความสามารถในการเขียนดีขึ้นอีกด้วย (เช่น การแต่งเรื่องได้ยาวขึ้น) เด็กในกลุ่มดังกล่าวถูกสอนเรื่องความสัมพันธ์ของหน่วยเสียงและการสะกดทั่วไป ได้ฝึกฝนการสะกดคำใหม่ๆ โดยการชี้ตัวอักษรแต่ละตัวจากซ้ายไปขวา ในขณะเดียวกันก็ต้องอ่านออกเสียงดัง และใช้คำที่พวกเขาสะกดนั้นในการเขียนเรื่องสั้น ๆ ด้วย แม้ว่าการให้ฝึกทำซ้ำ ๆ จะมีความจำเป็นก็ตาม แต่ผลที่พบจากการศึกษาเรื่องนี้ เสนอแนวคิดว่า การสอนสะกดคำแต่เนิ่นๆ และสอนเสริมพิเศษ ก็สามารถก่อให้เกิดผลดีต่อการเขียนเรื่องอย่างราบรื่น คล่องแคล่วได้เช่นกัน  

การศึกษาทั้ง 4 เรื่องนี้ แสดงให้เห็นว่า แผนงานแก้ไขเยียวยาเสียตั้งแต่แรกที่มีการจัดการสอนในเรื่องการเขียนลายมือ หรือไม่ก็เรื่องการสะกดคำนั้น ให้ผลดีต่อการเขียนเรื่องของผู้ที่มีปัญหาการเขียนในด้านใดด้านหนึ่ง กล่าวคือ มีความคล่องแคล่วลื่นไหลในการเขียนเรื่อง ซึ่งวัดได้จากความสามารถของเด็กในการประดิษฐ์คิดสร้างประโยค หรือไม่ก็การคิดเนื้อหาเวลาเขียนเรื่อง ผลการตรวจสอบในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ มีนัยสำคัญต่อการป้องกันปัญหาทางด้านการเขียน ดังข้อมูลที่ Berninger และเพื่อนร่วมงานของเธอได้รวบรวมไว้ บ่งชี้ว่า ความอ่อนด้อยในความลื่นไหลของการเขียนเรื่องในเด็กชั้นประถมศึกษานั้น อาจนำมาใช้เป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาทางด้านการเขียนในระดับการศึกษาที่สูงๆ ขึ้นไปได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อควรระวังที่ควรจะต้องฝึกฝนในการเลือกโปรแกรมการเยียวยาเรื่องการเขียนลายมือและการสะกดคำแต่เนิ่นๆ เนื่องจากวิธีการมากมายที่นำมาใช้ในการศึกษาวิจัยของ Berninger et al. นั้น ไม่ได้นำสู่การปรับปรุงแก้ไขการแสดงความสามารถด้านการเขียนแต่อย่างใด

การวิจัยเพิ่มเติมนั้น จำเป็นต้องทำเพื่อระบุถึงวิธีการอื่นๆ ที่จะมาใช้เยียวยาปัญหาด้านการเขียน การฝึกฝนการเยียวยาตั้งแต่แรก ที่ดูเหมือนจะมีประสิทธิผลนั้น รวมถึงการให้เวลาเพิ่มในการเขียน ให้ความช่วยเหลือแนะนำเป็นการส่วนตัวขณะกำลังเขียน และให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมในการควบคุมทักษะที่สำคัญๆ เช่น การวางแผน การทบทวน และการสร้างประโยค วิธีการเช่นนี้จะช่วยให้เกิดทางเลือกที่กว้างขวางและมีจำนวนมากกว่าเดิม เพื่อการเร่งรัดความก้าวหน้าในการเขียนของเด็กเล็กที่มีอาการของ LD และเด็กในระดับประถมศึกษาคนอื่นๆ ที่ยังคงมีปัญหาด้านการเขียน
 

แปลและเรียบเรียงจาก Prevention and Intervention of Writing Difficulties for Students with Learning Disabilities By: Steven Graham, Karen R. Harris, and Lynn Larsen (2001)โดยส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก