ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การจัดทำแผนการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านที่ไม่ใช่ภาษา (Nonverbal Learning Disabilities – NLD) ตอนที่ 1

Sue Thompson, M.A., C.E. (1998)

สถานศึกษาตัวอย่าง จะมีสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ซับซ้อน มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้าได้ เด็กจึงจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งยั่วยุมากมายหลายหลาก นับตั้งแต่ความคาดหวังทางพฤติกรรม และปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ซับซ้อน เช่นเดียวกับภารกิจทางการศึกษาที่ได้รับมอบหมายให้ทำ เด็กถูกคาดหวังให้รู้จักประพฤติตัวให้เหมาะ สมในสถานการณ์ร้อยแปดพันเก้า เงื่อนไขเฉพาะเจาะจงเช่นนี้ อาจไม่สร้างปัญหาให้กับเด็กบางคน แต่เป็นปัญหาอย่างยิ่งสำหรับเด็กที่ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านที่ไม่ใช่ภาษา (NLD) การเรียกร้องเรื่องนี้ถือว่าหนักหนาสาหัส และยากเกินกว่าจะทำได้ ถ้าหากคณะทำงานทั้งหมดในโรงเรียน จะไม่ตระหนักถึงลักษณะพิเศษของพฤติกรรมที่แสดงออกผ่านทางระบบประสาท ซึ่งเป็นอุปสรรคของเด็กที่มีอาการของ NLD และไม่พยายามมองหาวิธีการที่จะยื่นมือเข้าไปช่วยเหลืออย่างเหมาะสมแล้ว ก็เท่ากับว่า เด็กคนนี้ได้ถูกกำหนดให้ต้องประสบความล้มเหลวในการเรียนแล้วอย่างแน่นอน

โครงการด้านการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กที่มีอาการของ NLD นั้น จะต้องให้ความสนใจในคุณค่าของสิ่งที่เด็กลงมือปฏิบัติ และเสริมสร้างจุดแข็งที่มีอยู่นี้ ให้เกิดความมั่นใจในผลสำเร็จที่จะเกิดขึ้น การจัดทำโครงการที่มีความเหมาะสม จำเป็นต้องรู้ข้อมูลเกี่ยวกับความบกพร่องทางระบบประสาทที่เป็นปัญหากับสมรรถภาพของเด็กในหลายๆ ด้านเสียก่อน แล้วจึงพยายามหาวิธีการชดเชยมาใช้จัดการกับความอ่อนด้อยนี้ การนำแผนงานด้านการศึกษาแสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถของเด็ก ทั้งด้านการศึกษาและด้านสังคมมาใช้ จะประสบความสำเร็จได้มากที่สุด และโครงการที่จัดให้เด็กแต่ละคนนั้น ก็ไม่ควรจะมุ่งเพียงแค่ต้องการเห็นความก้าวหน้าทางวิชาการเท่านั้น แต่ควรจะเน้นถึงวิธีการอื่นๆ ที่จะนำมาใช้เพื่อชดเชย ให้เด็กได้มีความก้าวหน้าทางด้านวิชาการในอนาคต ด้วยการทำให้ภูมิความรู้ที่เด็กมีอยู่ กว้างขวางออกไปกว่าเดิม ให้เด็กสามารถรับมือกับระบบกลไกต่างๆ ได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ แผนงานด้านการศึกษาสำหรับเด็กที่มีอาการของ NLD นี้ ควรมุ่งไปที่การเตรียมตัวเด็กเพื่อให้ประสบความสำเร็จในอนาคต โดยการเพิ่มศักยภาพในตัวเด็กให้มากที่สุดนั่นเอง

นักวิชาการศึกษามักจะตีความปฏิกิริยาที่ดูแปลกประหลาดหลายประการ ซึ่งพบในเด็กที่มีอาการของ NLD กันอย่างผิดๆ ดังนั้น ก่อนที่จะจัดทำแผนการยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือเด็กผู้นี้ การวิเคราะห์จุดประสงค์ในการกระทำของเด็กด้วยแง่มุมของความบกพร่องและความผิดปกติทางระบบประสาท จึงเป็นสิ่งสำคัญ พฤติกรรมของเด็กจะเกิดขึ้นในทันทีที่เขาต้องการเอาตัวรอดในเหตุการณ์ของความสับสน และไม่มีความเข้าใจว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น จึงทำให้เด็กตกใจกลัว ส่งผลต่อความผิดปกติทางระบบประสาทของเด็ก ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเรียนรู้และพฤติกรรมกำลังหารือกับทางเขตการ ศึกษา ข้าพเจ้าก็ถูกถามอยู่บ่อยๆ ว่าทำอย่างไรถึงจะสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมที่น่ารำคาญของเด็กได้ เป็นต้นว่าการแสดงท่าทีต่อต้าน เมื่อถูกคณะทำงานของโรงเรียนซักถามในสิ่งที่ต้องการรู้และต้องการทำเพื่อที่จะได้จัดทำแผนการช่วยเหลือ ซึ่งจะมาตอบสนองความต้องการของเด็กให้ดีขึ้น บ่อยครั้ง ที่ทีมงานด้านการ ศึกษา ต้องการให้เด็กมีส่วนรับผิดชอบกับสภาวะผิดปกติทางระบบประสาทของตน จึงตอบโต้พฤติ กรรมของเด็กที่ทำไปโดยไม่รู้ตัว ไปอย่างไม่ถูกต้อง ด้วยความเข้าใจผิดว่า เด็กเองตั้งใจจะทำเช่นนั้น

ต่อไปนี้ คือลักษณะทั่วไปของอาการในเด็กที่มีความผิดปกติทางระบบประสาท10 ประการ พร้อมด้วยคำแนะนำในการเข้าไปช่วยเหลือของครู ที่ควรนำไปพิจารณาประกอบการจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะตัว สำหรับเด็กที่มีอาการของ NLD หากเป็นคำแนะนำทั่วไป ที่ควรจะนำไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับความจำเป็นของเด็กในความดูแลของแต่ละคน วิธีการนั้นมีหลากหลาย กรนำไปใช้ต้องขึ้นอยู่กับอายุและความรุนแรงทางอาการ NLD ของเด็ก นับเป็นเรื่องสำคัญที่ครูควรจะต้องทราบผลการประเมินทางด้านประสาทจิตวิทยาที่ถูกต้องของเด็กเสียก่อน ถือว่าเป็นการเก็บข้อมูลที่ตรงประเด็นเกี่ยวกับคุณสมบัติและข้อบกพร่องของเด็ก เพื่อให้ได้แผนการศึกษาเฉพาะบุคคลที่มีความเหมาะสม สามารถปรับให้ใช้ได้ผลกับกลุ่มอาการที่เด็กแสดงออกมา

เด็กที่มีอาการของ NLD:

มีปัญหาในการทำตัวให้ถูกที่ถูกทาง

---และมักจะหลงทิศทางหรือทำอะไรเชื่องช้า เด็กที่มีอาการของ NLD จะมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดระเบียบร่างกาย ทั้งภายนอกและภายใน การรับรู้ตำแหน่งและทิศทางของบุคคล (เปรียบเทียบระหว่างตัวเองและวัตถุ) จากภาพที่เห็น (Visual-spatial orientation) กรอบความคิดและการทำงานประสานกันเกี่ยวกับทิศทาง เด็กคนนี้จะต้องมีปัญหากลืนไม่เข้าคายไม่ออกทุกวัน ไม่หลงทางในโรงเรียน ก็มาเข้าเรียนสาย ครูจึงมีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีอาการของ NLD ให้เรียนรู้ถึงวิธีการจัดการกับความซับซ้อนของการรับรู้ตำแหน่งและทิศทางในโรงเรียนของตนเองได้

เป็นเรื่องของผู้ใหญ่ที่เกี่ยวพันกับชีวิตของเด็กคนนี้ ที่จะต้องหาวิธีการทดแทนที่มีประโยชน์ มาช่วยให้เธอมีอิสระและความสามารถในการเคลื่อนไหวที่จำเป็น เพื่อสามารถเดินไปมาในโรงเรียนได้ถูกทาง หมั่นประเมินความเข้าใจในตำแหน่งและทิศทางของบุคคลที่เด็กมองเห็น ผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพผู้ซึ่งทำงานร่วมกับเด็กผู้นี้ที่โรงเรียน จะต้องคอยบอกให้เด็กรู้ถึงโครงสร้างของสิ่งที่อยู่ภายนอก การจัดระเบียบ รวมทั้งความมั่นคงของจิตใจที่เด็กยังขาดอยู่ สิ่งเหล่านี้ สามารถแก้ไขสำเร็จได้โดย:

  • จัดทำเส้นเชือกนำทาง (verbal-rope) เพื่อช่วยพาเด็กจากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
  •  มอบหมายเพื่อนคู่หูที่สนุกกับการช่วยเด็กคนนี้ และเป็นคนที่คอยเอาใจใส่ว่าคู่หูของตนนั้นต้องการอะไร
  •  อบรมเพื่อนคู่หู ให้คอยระวังเด็กที่มีอาการของ NLD คนนี้ขณะขึ้นรถบัส ขณะพักผ่อน ตอนรับประทานอาหารกลางวัน ในระหว่างที่เดินผ่าน เป็นต้น
  •  ขจัดผลเสียที่เกิดจากความล่าช้า
  • ซักซ้อมการเดินจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยการยกอุปกรณ์ทำเครื่องหมายขึ้นชี้นำทาง

มีปัญหาในการปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวันและช่วงเปลี่ยนผ่าน

โดยปกติ เด็กที่มีอาการของ NLD จะปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมที่แน่นอนตายตัวและคาดการณ์ได้ อย่างไรก็ตาม เด็กจะเกิดความเครียดอย่างรุนแรงเมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวันที่ไม่คาดฝันหรือเกิดจากการบีบบังคับ เพราะเหตุที่เด็กผู้นี้ขาดทักษะในการจัดระเบียบภายในจิตใจ เขาจึงต้องการความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษในเรื่องนี้ ขอให้เตรียมตัวเด็กเผื่อไว้สำหรับความเปลี่ยนแปลงทุกชนิดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันหรือในช่วงเปลี่ยนผ่าน เช่น การออกฝึกภาคสนาม การเข้ากลุ่ม ครูที่มาแทน และกำหนดวันที่เปลี่ยนแปลงไป ให้ใช้ตารางเวลาที่ใช้การเขียนและมีตัวเลขกำกับเพื่อช่วยเตรียมเด็กให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง ความตื่นตกใจที่ตั้งป้อมไว้ในใจเมื่อเด็กรู้สึกเหมือนถูกลอบทำร้าย หรือไม่รู้ว่าจะคาดเดาว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป ความกังวลที่เด็กมีเพิ่มมากขึ้นนี้ จะลดลงได้โดยการทำให้เกิดความสม่ำเสมอในระดับสูงในแผนการเรียน

การกำหนด ‘ช่วงเวลาเตือน’ อย่างเพียงพอ ก็มีความจำเป็นก่อนที่จะเริ่มต้นเหตุการณ์ใหม่ๆ ในบางกรณี ความเครียดจากสิ่งใหม่ที่เด็กพบ สามารถบรรเทาลงได้เพียงแค่อนุญาตให้เด็กได้เคลื่อนย้าย
ตัวเองออกไปจากเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่สร้างความเครียดนั้นๆ ในกรณีที่เกิดเรื่องเช่นนี้  ควรกำหนด ‘สถานที่ที่ปลอดภัย’ หรือ ‘คนที่ปลอดภัย’ ให้เด็กเข้าไปพึ่งพิงไว้ล่วงหน้า แผนของ ‘การกลับเข้าไปใหม่’ ด้วยความเห็นอกเห็นใจเป็นสิ่งที่ควรเตรียมไว้ล่วงหน้า เพื่อช่วยเด็กให้กลับเข้ามาสู่สถาน การณ์ของความเครียดนั้นได้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ครูต้องช่วยเด็กให้เรียนรู้วิธีการปรับตัวเมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลง หรือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน เพื่อที่ความเครียดในการมาโรงเรียนของเด็กจะได้ไม่สะสมไปจนถึงจุดที่ไม่สามารถเรียนในโรงเรียนได้ สิ่งนี้สามารถทำได้โดย:

  • จัดสถานการณ์ที่มีความปลอดภัยและคาดการณ์ได้อย่างสม่ำเสมอเหมือนเป็นเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
  • พยายามลดช่วงการเปลี่ยนผ่านลงและบอกเป็นนัยๆ กับเด็ก ก่อนถึงช่วงการเปลี่ยนผ่าน
  • จัดทำตารางเวลาทำกิจกรรมให้แก่ผู้ปกครองของเด็ก เพื่อการ ‘ซักซ้อม’ (ได้เห็นก่อนและได้เตรียมตัว) กับลูกของตนสำหรับวันถัดไป และต้องแน่ใจด้วยว่า เด็กมีทุกอย่างที่จำเป็นต้องใช้ สำหรับกิจกรรมต่างๆ ในวันนั้น
  • เขียนๆ ตารางเวลาง่ายๆ ลงในกระดาษโน้ตติไว้บนกระดาน ตั้งแต่เริ่มวันใหม่ทกวันสำหรับเด็กในระดับประถมศึกษา
  • อธิบายกำหนดการประจำวันให้กับเด็กที่โตกว่าได้ทราบ เพื่อให้เด็กที่มีอาการของ NLD เริ่มรับและเข้าใจรายการที่ต้องปฏิบัติในแต่ละวันนั้นกำหนดไว้ในใจ
  • เขียนกำหนดการประจำวันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมปลายลงบนบัตร (โดยเน้นการเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในวันนั้น ๆ) ที่สามารถพกพาจากชั้นเรียนหนึ่งไปอีกชั้น เรียนหนึ่งได้ เพื่อให้พร้อมหยิบขึ้นมาดูได้ทันที
แปลและเรียบเรียงจาก Developing an Educational Plan for the Student with NLD (Nonverbal Learning Disabilities) By Sue Thompson} M.A. C.E. (1998) โดย ส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก