ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

ยา Prozac อาจช่วยลดอาการออทิสติดในผู้ใหญ่ได้

Maia Szalavitz วันที่ 5 ธันวาคม 2554

Michael Blann / Getty Images
 
ตามการศึกษาวิจัยครั้งใหม่ ยาต้านความซึมเศร้า Prozac อาจช่วยบรรเทาพฤติกรรมซ้ำ ๆ และอาการของโรคย้ำคิดย้ำทำในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคออทิสซึ่มลงได้ โดยจะช่วยลดอาการต่างๆ ของความผิดปกติดังกล่าว งานวิจัยครั้งนี้ ซึ่งมีผู้ร่วมในการวิจัยเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นออทิสติกในกลุ่มที่สามารถพูด ใช้ภาษา และปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นๆ ได้ดี จำนวน 37 คน ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัยว่า มีอาการแอสเพอร์เกอร์ ให้เฝ้าติดตามดู เป็นเวลา 12 สัปดาห์ การรับยา Prozac (fluoxetine) ช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการทั่วไปดีขึ้นเป็นสองเท่าของยาตัวอื่น จากการประเมินของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ครึ่งหนึ่งของผู้ที่เข้าร่วมในการวิจัยที่กินยา Prozac แล้ว จะเห็นว่าอาการย้ำคิดย้ำทำลดลงไปอย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบกับผู้เข้าร่วมในการวิจัยอีกร้อยละ 8 ที่กินยาแป้ง (placebo)* เข้าไป ผลข้างเคียงของ Prozac อยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง และเห็นได้ว่า ผู้เข้าร่วมการวิจัยที่กินยา Prozac ไม่
แสดงออกว่ามีความคิดที่จะฆ่าตัวตายมากกว่าเดิมแต่อย่างใด
 
* placebo คือ ยาที่ไม่มีตัวยาเป็นส่วนประกอบอยู่เลย แต่มีแป้งหรือน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก จึงไม่มีผลในการรักษาที่แท้จริง
 
Dr. Eric Hollander ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ของ Autism and Obsessive-Compulsive Spectrum Program ที่ Montefiore Medical Center ใน New York ผู้เขียนนำของงานวิจัยครั้งนี้กล่าวว่า “พฤติกรรมซ้ำ ๆ คืออาการหลักของโรค” เขาอธิบายว่า “เด็กพวกนี้ มักต้องทำตามพิธีการและกิจวัตรประจำวันมาตั้งแต่ยังเด็กมากๆ ตัวอย่างเช่น พวกเขาต้องจัดเรียงของเล่นให้เป็นแถวเป็นแนว และจะไม่พอใจอย่างมากหากมีการขยับเขยื้อนเคลื่อนที่ไปจากเดิม”
 
การศึกษาวิจัยเรื่องการรักษาด้วยยา Celexa (citalopram) ในเด็กออทิสติกที่คล้ายคลึงกัน  แต่เป็นการศึกษาวิจัยที่มีขนาดใหญ่กว่า ไม่พบว่ามีการลดลงของพฤติกรรมซ้ำๆ แต่ยานั้นสามารถลดความใจร้อนลงไป และมีคุณสมบัติเหนือกว่ายาแป้งที่ให้เด็กซึ่งมีความใจร้อน/ไม่อดทนในระดับสูงกิน ความใจร้อนนี้ในบางกรณีอาจนำไปสู่พฤติกรรมซ้ำๆ ได้ เพราะคนที่เป็นออทิสติก มักจะทำกิริยาอาการอย่างนั้นเพื่อทำให้ตนเองสงบลง
 
ทั้งยา Prozac และ Celexa อยู่ในกลุ่มของยาต้านความซึมเศร้า ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นยากลุ่ม SSRI (selective serotonin reuptake inhibitors) ในงานวิจัยก่อนหน้าที่เกี่ยวกับการใช้ยากลุ่ม SSRI กับคนที่มีอาการอออทิสติก ก็มีการนำเอายา Luvox (fluvoxamine) มาพิจารณาด้วย และพบว่ามีการลดลงของพฤติกรรมซ้ำๆในผู้ใหญ่ แต่ไม่ลดลงในเด็ก ยังไม่เป็นที่ประจักษ์ว่า ความแตกต่างระหว่างการศึกษาวิจัยเหล่านี้ มีสาเหตุมาจากความแตกต่างกันของวิธีการรักษา หรือเกิดจากปัจจัยอื่นๆ
 
พฤติกรรมย้ำคิดอาจเกิดขึ้นในคนเป็นออทิสติกเพื่อตอบรับกับแรงกดดันหรือความไม่สบายใจอันเกิดจากสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด “คนส่วนใหญ่เหล่านี้มีความคาดหวังว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้น และถ้าหากเกิดมีความคลาดเคลื่อนเบี่ยงเบนไปจากที่คนคาดหวังไว้ ก็จะเกิดความอีดอัดใจอย่างมากแล้วพวกเขาก็จะแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ นานาดังกล่าวออกมา” Hollander ชี้แจง นี่คือเหตุผลว่าทำไมคนที่เป็นออทิสติก จึงหมกมุ่นกับการหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ตนเคยพบกับความอึดอัดใจมาก่อน หรือไม่ก็อาจวุ่นวายอยู่กับสิ่งที่ตนเคยทำจนเป็นนิสัย เช่น การซักล้าง การสำรวจตรวจตรา การนับ การแตะต้อง หรือการเคาะเบาๆ เป็นต้น
 
เมื่อผู้ป่วยกินยา Prozac เข้าไป Hollander บอกว่า “ผู้ป่วยได้รับรู้ถึงความรู้สึกอึดอัดใจที่เริ่มลดน้อยลง จึงทำให้พวกเขาสามารถเอาตัวเองออกมาจาก ‘พื้นที่สุขสบาย’ (comfort zone) ** ได้มากขึ้น และหักห้ามไม่ทำตามความเคยชินและพิธีการต่าง ๆ ที่ตนเคยทำมาก่อนได้” ผู้ร่วมงานวิจัยของ Hollander คนหนึ่ง เคยเป็นคนที่มีอาการกระวนกระวายจนเกินเหตุ เมื่อต้องนั่งรถใต้ดินหรือกินอาหารในภัตตาคาร แต่พอเขาได้กินยา Prozac ก็กลับสามารถอดทนต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เขาไม่เคยคาดคิดว่าจะได้เจอมาก่อนได้
 
 “เพื่อผ่อนหนักให้เป็นเบา” Hollander อธิบายโดยตั้งข้อสังเกตว่า สิ่งที่พบจากการวิจัยมีความสำคัญทางด้านสถิติ และมีความหมายทางการแพทย์ “แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถบอกได้ว่า ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ไม่เพียงแต่อาการย้ำคิดย้ำทำ แต่ความซึมเศร้า และความสามารถในการทำงานโดยทั่วไปนั้นก็ดีขึ้นด้วย
 
ยาที่ได้รับความเห็นชอบให้นำมารักษาอารมณ์ร้อนและพฤติกรรมซ้ำๆ ในเด็กออทิสติก เป็นยารักษาโรคจิต
กลุมใหม่ คือ Risperdal (risperidone) และ Abilify (aripiprazole) ซึ่งน่าจะมีผลข้างเคียงรุนแรงกว่ายา Prozac ยาเหล่านี้มีความเสี่ยงในตัวคืออาจทำให้ผู้กินยามีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เสียงกับการเป็นเบาหวาน และมีความผิดปกติในการเคลื่อนไหวร่างกาย
 
** comfort zone คือ ขอบเขตที่เรากำหนดขึ้น เป็นพื้นที่ที่ยึดติดกับความสบาย จึงปฏิเสธที่จะก้าวออกมา เมื่อพยายามจะทำ ก็เกิดอาการกลัวและตื่นเต้น
มีการให้ความเห็นตอบกลับงานวิจัยครั้งนี้ โดย Fred Volkmar ผู้อำนวยการของ Yale Child Study Center ได้บอกกับ WebMD *** ว่า: “ยังคงมีคำถามอยู่ข้อหนึ่ง คือ ‘fluoxetine ดีกว่า risperidone สำหรับอาการนี้จริงหรือ? คงจะน่าสนใจไม่น้อยถ้าจะได้เห็นการเปรียบเทียบระหว่างยาทั้งสองตัวนี้แบบหนึ่งต่อหนึ่งไปเลย”
 
*** คือ แอพพลิเคชั่นสุขภาพสำหรับผู้ใช้สมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ไอโฟนหรือไอแพด ที่จะช่วยให้เข้าถึงข้อมูลของยา และการบำบัดรักษา การปฐมพยาบาล รวมทั้งรายชื่อและที่ตั้งของสถานพยาบาลในแต่ละท้องถิ่น
แปลและเรียบเรียง Prozac May Reduce Symptoms of Autism in Adult จาก Time.com

ภาพประกอบบทความออทิสติก

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181