ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การนำรูปแบบการทำงานของสมองมาใช้วินิจฉัยโรคออทิสซึ่มโดยเริ่มในเด็กอายุเพียงสองปีเท่านั้น

โดย Alexandra Sifferlin 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ในการศึกษาวิจัยครั้งยิ่งใหญ่ครั้งใหม่ที่ Boston Children's Hospital นักวิจัยใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography หรือ EEG) ในการระบุรูปแบบการทำงานของสมองที่มีลักษณะเฉพาะ โดยลักษณะเฉพาะดังกล่าวนี้สามารถใช้ในการวินิจฉัยเด็กที่เป็นออทิสติกได้
 
ในงานวิจัยครั้งใหญ่ หนึ่งในหลาย ๆ งานของยุคปัจจุบัน นักวิจัยที่ Boston Children's Hospital ใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองในการวัดการทำงานของสมองของเด็กๆ และระบุรูปแบบเฉพาะของการทำงานของสมองจำนวน 33 รูปแบบที่นำมาใช้ในการแบ่งแยกเด็กออทิสติก ออกจากเด็กธรรมดาที่มีอาการในรูปแบบ neurologically typical หรือ Neurotypical ได้ การศึกษาวิจัยดังกล่าวเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในการศึกษาวิจัยครั้งที่ใหญ่ที่สุดนับจนถึงปัจจุบัน
 
นักวิจัยได้ตรวจวัดรูปแบบคลื่นไฟฟ้าสมองของเด็กจำนวน 430 คนที่เป็นโรคออทิสซึ่ม และกลุ่มเด็กอายุ 2 ถึง 12 ปี ที่เป็นกลุ่มควบคุม จำนวนอีก 554 คน ผลการวิจัยพบว่า เด็กที่เป็นโรคออทิสซึ่มนั้น มีรูปแบบการทำงานของสมองที่มีการเชื่อมต่อระหว่างสมองส่วนต่าง ๆ ในแนวทางที่ถดถอยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาของสมองซีกซ้ายcal หรือ Neurotypical ได้ การศึกษาวิจัยดังกล่าวเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในการศึกษาวิจัยครั้งที่ใหญ่ที่สุดนับจนถึงปัจจุบัน
 
Dr. Frank H. Duffy ผู้เขียนที่เป็นนักวิจัยแห่งแผนกจิตเวช โรงพยาบาล Boston Children’s Hospital กล่าวว่า "การทำงานของสมองนั้น ก็เหมือนกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่อง ที่มีเส้นประสาทในสมอง เป็นตัวโยงใยแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อที่สมองแต่ละส่วนจะได้เชื่อมประสานกันและทำงานไปด้วยกันได้" นอกจากนี้ Dr. Duffy ยังกล่าวต่อไปอีกว่า "เราสามารถประเมินได้ว่า สมองแต่ละส่วนนั้น เชื่อมต่อกันได้ดีแค่ไหน โดยดูจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง ถ้าสมองแต่ละส่วนมีความสัมพันธ์กันอยู่มาก ก็ถือเป็นสิ่งบ่งบอกเราว่า สมองสามารถเชื่อมต่อกันได้เป็นอย่างดี"
 
นักวิจัยได้ตัดบรรดาเด็กในกลุ่มออทิสติกที่มีศักยภาพสูง (high-functioning autism) และมีอาการแอสเพอร์เกอร์ (Asperger’s syndrome) ออกไป แล้วมุ่งความสนใจไปยังเด็กกลุ่มที่เป็นโรคออทิสซึ่มแบบปกติทั่วไป โดยที่เด็กกลุ่มหลังนี้เคยได้รับการแนะนำจากนักประสาทวิทยา จิตแพทย์ หรือกุมารแพทย์ด้านพัฒนา การที่เด็กให้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง ก็เพื่อป้องกันการเกิดลมชักโดยฉับพลัน Dr. Duffy กล่าวว่า "พวกเราได้ศึกษากลุ่มเด็กออทิสติกแบบทั่วไป ที่กำลังขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรม การศึกษาเด็กเหล่านี้เรียกได้ว่าออกจะยาก เช่นเดียวกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองของเด็กเหล่านี้เพื่อบันทึกผล"
 
การที่จะให้ได้ผลการอ่านคลื่นไฟฟ้าสมองมานั้น เด็ก ๆ จะต้องสวมหมวกที่มีขั้ว ไฟฟ้าซึ่งสามารถบันทึกสัญญาณไฟฟ้าเพื่อแสดงผลการทำงานของสมองได้ คณะนักวิจัยต้องใช้เทคนิคบางอย่างเพื่อทำให้การอ่านคลื่นไฟฟ้า ไม่ถูกรบกวนจากตัวผู้รับการทดลองเอง เช่น ให้เวลาเด็กได้พักเป็นช่วง ๆ และค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมต่าง ๆ ไปด้วย เช่น ด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย และดวงตา รวมทั้งการทำงานของกล้ามเนื้อ ที่อาจทำให้การบันทึกคลื่นไม่เสถียรได้ เป็นต้น
 
นักวิจัยได้เปรียบเทียบสัญญาณคลื่นสมองจากขั้วไฟฟ้าหลาย ๆ ขั้ว ที่ติดตั้งอยู่บนศีรษะของเด็ก ๆ หากพบว่ามีสัญญาณหรือคลื่นตั้งแต่สองคลื่นขึ้นไป ขยับขึ้นลงในทิศทางเดียวกัน แสดงว่า ส่วนต่าง ๆ ในสมองของเด็กคนนั้น มีการเชื่อมประสานกันอย่างสนิทแน่น คณะนักวิจัยยังได้ระบุด้วยว่า มีการขยับขึ้นลงพร้อม ๆ กัน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการยึดติดกันของบรรดาสัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมอง ที่รวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียว รวม 4,000 สัญญาณ ในจำนวนนี้ พบว่า 33 ปัจจัย คือปัจจัยที่ว่านี้ ซึ่งจะเป็นตัวแบ่งแยกเด็กออทิสติกออกจากเด็กในกลุ่มควบคุมตัวอย่าง เราสามารถพบปัจจัยดังกล่าวในเด็กทุกกลุ่ม ตั้งแต่กลุ่มอายุตั้งแต่ 2 - 4 ปี กลุ่มอายุตั้งแต่ 4 - 6 ปี ไปจนถึงกลุ่มอายุ 6 - 12 ปี นักวิจัยได้ทดลองเช่นนี้ซ้ำ ๆ กันถึง 10 ครั้ง โดยในแต่ละครั้ง จะแบ่งเด็กออกเป็นสองกลุ่มเท่า ๆ กัน เด็กกลุ่มแรก จะอยู่ในกลุ่มทดลองเพื่อบ่งชี้ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดการยึดติดกันของสัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมอง ในขณะที่เด็กกลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มทดลองเพื่อยืนยันปัจจัยดังกล่าวที่พบในกลุ่มแรก และบรรดานักวิจัยก็สามารถแยกแยะเด็กที่เป็นโรคออทิสซึ่มได้ทั้ง 10 ครั้ง
 
Dr. Duffy กล่าวว่า "ผลการวิจัยของเราโดดเด่น เป็นจริง และใช้การได้จริงด้วย" เขายังกล่าวต่อไปอีกว่า "สิ่งที่น่าประหลาดใจ คือ รูปแบบของปัจจัยทั้ง 33 แบบนี้ มีประโยชน์อย่างยิ่งกับเด็ก ๆ ที่มีอายุตั้งแต่ 2 - 12 ปี โดยผลการวิจัยพบว่า ไม่ว่าเด็กจะเป็นโรคออทิสซึ่มด้วยสาเหตุใดก็ตาม เด็กจะมีรูปแบบของความผิดปกติที่แสดงให้เห็นได้อย่างเด่นชัด"
 
Dr. Duffy กล่าวว่า การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง หรือ EEG ซึ่งเป็นการทดสอบที่ใช้กันอย่างกว้างขวางและราคาไม่แพงนักนั้น สามารถใช้วินิจฉัยเด็กที่มีอาการของกลุ่มโรคออทิสซึ่มได้ แต่ในสหรัฐอเมริกาการทดสอบดังกล่าว ยังไม่จำเป็นเท่าใดนัก เขาอธิบายว่า "ในประเทศสหรัฐอเมริกา นักประสาทวิทยา กุมารแพทย์ และจิตแพทย์ที่ผ่านการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี จะบอกได้ หลังจากที่พบกันว่า ลูกของคุณเป็นเด็กที่มีอาการออทิสติกหรือไม่ ภายในเวลาเพียง 1 นาทีเท่านั้น" เขากล่าวด้วยว่า "สำหรับผมเองนั้น สามารถคาดเดาได้สบาย ๆ เพียงฟังเสียงที่ดังอยู่ในห้องโถง ก่อนที่เด็ก ๆ จะเข้ามาในห้องด้วยซ้ำ ว่าเป็นเด็กที่มีอาการในกลุ่มโรคออทิสซึ่มหรือไม่ แต่ถ้าหากผมบอกไม่ได้ภายใน 30 วินาทีแล้วละก็ ต่อให้เวลาผ่านไปเป็นชั่วโมง ผมก็จะยังบอกไม่ได้อยู่ดี และคงจะต้องใช้การทดสอบเข้ามาช่วยแล้วละ"
 
อย่างไรก็ดี สำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ออกจะหาได้ยาก และการตรวจคัดกรองเด็กที่มีอาการออทิสติก ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายทั่วไปนั้น Dr. Duffy แนะนำว่า การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง จะบอกให้ทราบว่า เด็กคนใดมีอาการผิดปกติ ดังนั้น ถ้าแพทย์ไม่คอยใส่ใจเฝ้าระวังเด็กที่มีอาการออทิสติกด้วยแล้ว การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง จะเข้ามาเป็นเครื่องมือวินิจฉัยโรคที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง
 
กลุ่มนักวิจัยหวังว่า ตนจะสามารถนำการวิจัยนี้ไปปรับใช้กับเด็กในกลุ่มออทิสติกศักยภาพสูง ที่มีอาการแอสเพอร์เกอร์ (Asperger’s syndrome) เพื่อให้ยืนยันได้ว่า ควรจะจัดเด็กกลุ่มนี้ไว้ในกลุ่มเดียวกันกับเด็กที่เป็นออทิสติกหรือไม่
 
Alexandra Sifferlin เป็นทั้งนักเขียนและโปรดิวเซอร์ ของTIME Healthland เธอจบการศึกษาจาก Northwestern University Medill School of Journalism

แปลและเรียบเรียง Using Brain Activity Patterns to Identify Autism in Kids as Young as 2 จาก TIME.com

ภาพประกอบบทความออทิสติก

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก