ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

ทำให้เกิดผล: กลยุทธ์ที่จดจำง่ายเพื่อยกระดับการเรียนรู้ ตอนที่ 3

Regina G. Richards (2008)

รูปแบบต่างๆ: ตัวอักษร P (Patterns) ใน RIP

สมองคนเรานั้น จะค้นหาความหมายผ่านรูปแบบต่าง ๆ ในขณะที่เราได้รับข้อมูลจากทุกประสาทสัมผัส เราจำเป็นต้องมีความรู้และระบบในการจัดระเบียบข้อมูลก่อน จึงจะสามารถกำหนดความหมายให้กับข้อมูลนั้นได้ ทุกครั้งที่รับข้อมูลมา สมองของเราจะค้นหาความรู้ที่เรามีอยู่แล้วจนทั่ว ถ้าหากข้อมูลใหม่นั้นเป็นสิ่งที่มากระตุ้นระบบเครือข่ายเส้นประสาท แล้วก็จะเกิดการจับคู่ และนี่เองเรียกว่า การยอมรับรูปแบบ ซึ่งมีคุณค่าอย่างยิ่งในการปรับปรุงการเก็บความจำ

เนื่องจากรูปแบบต่าง ๆ นั้น มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อ “การคิดอย่างรอบคอบ” (thinking cap) ของเรา มากกว่าข้อเท็จจริง ข้อมูลที่จะจดจำนั้น จะเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ก็ต่อเมื่อได้รับมาในสถานการณ์ที่ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมหรือมุ่งไปที่เหตุการณ์ ซึ่งประกอบด้วยการเรียนรู้ทางการเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่ตั้ง ดนตรี จังหวะ และความใหม่.... “เมื่อใดที่เรา ‘เก็บเล็กผสมน้อย’ กับการเรียนรู้ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน และรายการข้อมูลอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้แล้ว เราจะทำได้ไม่ดีเลย”

Eric Jensen, Super Teaching, หน้า 26

กลยุทธ์ทั้งหมดที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ ช่วยในการสร้างสรรค์รูปแบบต่าง ๆ ขึ้นมา นอกจากนี้แล้ว การใช้เสียงดนตรีและจังหวะ ก็สร้างสรรค์รูปแบบหรือการจัดระเบียบข้อมูลเช่นกัน การใช้ดนตรีมาตรวจสอบความคิดเห็นนั้นอาจมีประสิทธิภาพอย่างมาก ดนตรียังช่วยส่งเสริมให้เกิดการผ่อนคลาย ความคิดสร้างสรรค์ และแรงบันดาลใจ เด็กสามารถสร้างสรรค์เพลงหรือการเคาะจังหวะขึ้นมาเอง หรือไม่เด็กก็อาจนำเพลงที่มีคนแต่งไว้แล้ว มาตรวจสอบความคิดเห็นและข้อเท็จจริง เพลงบางเพลงที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์บางช่วงบางสมัยได้แก่ The Ballad of David Crockett บทเพลงของ Tom Blackburn, The Battle Of New Orleans บทเพลงของ Johnny Horton หรือ When Johnny Comes Marching Home Again บทเพลงของ Patrick S. Gilmore

การนำเพลงมาเปลี่ยนคำร้องให้กลายเป็นเพลงทั่วไป ก็เป็นเรื่องสนุกเช่นกัน  ตัวอย่างด้านล่างเป็นการนำทำนองเพลง "Row, Row, Row Your Boat” มาใช้ร้อง ให้เห็นความสำคัญของการเอาใจใส่ต่อการใส่จุด (เครื่องหมายมหัพภาค) เพื่อแสดงการจบประโยค (Richards, 2003 หน้า 186)

หยุด หยุด หยุดคำพูดทั้งหมดไว้

ด้วยจุดเล็ก ๆ

ใช้เครื่องหมายจุดในตอนท้าย

เพื่อให้คนรู้ว่าต้องหยุด

เพลงที่มาช่วยเสริมแนวคิดทางการศึกษาที่เป็นเพลงเพื่อการค้าก็มีเช่นกัน อย่างเช่น Science Explosion, Sing The Science Standards และ Best of Schoolhouse Rock อารมณ์ขันและความไร้สาระเองนั้นก็มีคุณค่าเมื่อนำไปใช้ร่วมกับกลยุทธ์อื่น ๆ เพราะว่าสมองของคนเราชอบจดจำข้อมูลที่ผิดจากธรรมดา ประโยคสั้น ๆ หรือตัวหนังสือที่ต่อเนื่องกันอาจนำมาใช้ในการช่วยจำได้ ด้วยการใช้หรือไม่ใช่ภาพหรือสิ่งของจริง จำไว้ว่า เป็นเรื่องจำเป็นที่เด็กจะต้องเข้าใจและรู้ข้อมูลก่อนการนำสิ่งช่วยเตือนความจำเหล่านี้มาใช้ จุดมุ่งหมายของสิ่งช่วยเตือนความจำดังกล่าวคือ ใช้เป็นเครื่องกระตุ้นให้จำข้อมูลได้ ต่อไปนี้ คือ สิ่งช่วยเตือนความจำที่มีประโยชน์

 

สิ่งช่วยเตือนความจำ อักษรแรกของแต่ละคำช่วยทำให้จำได้:
My Very Easy Method Just Speeds Up Naming Planets
(วิธีการที่ง่ายมาก ๆ ของฉัน ก็เพียงแค่เอ่ยชื่อดาวเคราะห์เร็ว ๆ)
ชื่อดาวเคราะห์เรียงตามลำดับ: Mercury (ดาวพุธ), Venus (ดาวศุกร์), Earth (โลก), Mars (ดาวอังคาร), Jupiter (ดาวพฤหัสบดี), Saturn (ดาวเสาร์), Uranus (ดาวยูเรนัส), Neptune (ดาวเนปจูน), Pluto (ดาวพลูโต)
My Very Eager Mother Just Served Us Nine Pizzas
(แม่ผู้กระตือรือร้นเป็นเยี่ยมของฉันเพิ่งเอาพิซซ่ามาเสิร์ฟให้ฉันเก้าชิ้น)
ชื่อดาวเคราะห์เรียงตามลำดับ: Mercury (ดาวพุธ), Venus (ดาวศุกร์), Earth (โลก), Mars (ดาวอังคาร), Jupiter (ดาวพฤหัสบดี), Saturn (ดาวเสาร์), Uranus (ดาวยูเรนัส), Neptune (ดาวเนปจูน), Pluto (ดาวพลูโต)
A rat in the house might eat the ice cream
(หนูตัวหนึ่งในบ้านอาจกินไอศกรีมก็ได้)
ตัวอักษรแรกของทุกคำในประโยค A rat in the house might eat the ice cream คือ ตัวสะกดของคำว่า arithmetic
 
Dear Miss Sally Brown 
(Miss Sally Brow ที่รัก) 
 
ขั้นตอนสำคัญของการหารยาว (long division) คือ divide แบ่ง, multiply เพิ่มขึ้น, subtract หักออก, bring down ทำให้น้อยลง
 
Does McDonald's Sell Cheese Burgers
(แม็คโดนัลด์ขายชีสเบอร์เกอร์หรือเปล่า)
 
ขั้นตอนสำคัญของการหารยาว (long division) คือ divide แบ่ง, multiply เพิ่มขึ้น, subtract หักออก, bring down ทำให้น้อยลง
 
Roy G. Biv
สีของสายรุ้งเรียงตามลำดับ คือ red แดง, orange ส้ม, yellow เหลือง, green เขียว, blue น้ำเงิน , indigo คราม, violet ม่วง
 
Never Eat Shredded Wheat
(อย่ากินอาหารเช้าที่ทำจากธัญพืช)
 
ลำดับของทิศตามเข็มนาฬิกา: North ทิศเหนือ, East ทิศตะวันออก, South ทิศใต้, West ทิศตะวันตก
 
Demystification
การทำให้ความจริงปรากฏ
 
 


Henry Winkler (นักแสดงชาวอเมริกัน) ได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม บรรยายประสบการณ์สมัยเป็นนักเรียน นวนิยายสำหรับเด็กชุดนี้มีชื่อว่า Hank Zipzer: The Mostly True Confessions of the World's Best Underachiever (Hank Zipzer: คำสารภาพที่เป็นจริงมากที่สุดของผู้ล้มเหลวที่ดีที่สุดของโลก) หนังสือชุดนี้มีการจัดทำเป็นหนังสือเสียง และเด็ก ๆ ที่กำลังมีปัญหาได้รับประโยชน์อย่างมากจากการฟังเทป การได้ฟังใครสักคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคคลที่มีชื่อเสียง บรรยายถึงความผิดหวังและการได้เรียนรู้ จะช่วยให้เกิดผลต่อประสบการณ์ของเด็กเอง หนังสือชุดนั้น อธิบายถึงพลังและพรสวรรค์มากมายของ Hank Zipzer ตัวละครเอก เด็กที่กำลังมีปัญหาด้านการอ่านจะได้รับประโยชน์จากการฟังหนังสือเสียงนี้ มากกว่าการอ่านจากหนังสือเองเสียอีก
 
ในเรื่องเล่าของ Hank Zipzer ตอนที่ชื่อ Niagara Falls, Or Does It?  นั้น Hank อยู่ในขั้นตอนของความพยายามที่จะเขียนเรียงความส่งครู เขาบ่น ฉันจะไม่มีวันออกจากห้องของฉัน ฉันเกลียดห้องของฉัน ฉันเกลียดงานที่ครูให้ทำ ฉันเกลียดสมองของฉัน ทำไมฉันถึงคิด ถึงเขียน ถึงสะกดคำ ถึงบวกหรือหารเลขไม่ได้ แล้วเรื่องคูณเลขน่ะ ลืมไปได้เลย

ไม่ใช่ว่าไม่ได้พยายามนะ ฉันพยายามแล้ว ฉันดูตารางสอนและรายการศัพท์ซ้ำแล้วซ้ำอีก ตอนที่พี่สาวลองทดสอบฉัน ฉันก็รู้ทุกอย่าง แต่แล้ว เมื่อมีการทดสอบในชั้นฉันกลับลืมหมด ราวกับความจำของฉันคือกระดานดำ และคำศัพท์ต่าง ๆ ได้เลื่อนไหลออกไปหมด ในตอนที่ฉันเดินจากอพาร์ตเมนต์ไปโรงเรียนซึ่งอยู่ห่างออกไปแค่ช่วงตึกครึ่งเท่านั้น นั่นทำให้ฉันโมโหจนต้องเอามือชกหัวตัวเองในบางครั้ง เพราะหวังว่าจะทำให้ทุกอย่างกลับมาเหมือนเดิมได้อีกครั้ง
 
Hank ไม่จำเป็นต้องชกหัวตัวเอง เขาเพียงต้องการใครสักคนมากอธิบายให้เขารู้ถึงวิธีการทำงานของการเก็บความจำ และเหตุใดเขาจึงมีพบกับปัญหานี้ เขาต้องการการทำให้ความจริงปรากฏ ตัวอย่างเช่น บางคนอาจพูดกับเขาว่า “ความจำของเธอก็เหมือนกับตู้ที่ประตูที่ติด จึงยากที่เธอจะจดจำสิ่งต่าง ๆ ที่โรงเรียนได้ เพราะประตูยังคงติดอยู่ เราต้องคิดหาทางที่จะทำให้ประตูเปิดออกงง่ายขึ้น” วิธีที่จะช่วย Hank และเด็กคนอื่น ๆ ที่ประสบปัญหาเดียวกัน จงเปิดประตูตู้ออกโดยการใช้เครื่องมือในกล่อง -    เครื่องมือ RIP  
 
หนังสือสำหรับนักเรียนอีกเล่มหนึ่ง ที่อธิบายถึงความท้าทายในการเรียนรู้และความสับสนปนเปกันของพรสวรรค์และการดิ้นรนต่อสู้ คือ Eli, The Boy Who Hated to Write: Understanding Dysgraphia. (Eli เด็กชายผู้เกลียดการเขียนหนังสือ: ทำความเข้าใจกับเด็กแอลดีที่บกพร่องทางการเขียน)
กล่าวโดยสรุป Eli ครุ่นคิด อย่างไรก็ดี ฉันอาจจะไม่ได้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ฉันเข้าใจดีว่าคนทุกคนมี
ความแตกต่างกันในตัวเอง ท้ายที่สุด ฉันก็เข้าใจถึงความหมายเมื่อมีคนมาบอกฉันว่า ‘เราทุกคนมีชีวิต
จิตใจเหมือนกัน’ แต่เราไม่ได้เหมือนกันทุกคน

ฉันเริ่มจะเห็นด้วยแล้ว ใช่ การมีชีวิตจิตใจเหมือนกันเป็นเรื่องดี – เพราะเราทุกคนนั้น มีความแตกต่างกัน
ไป ซึ่งความแตกต่างนี้ ทำให้ชีวิตนี้น่าสนใจมากขึ้น
 
บทสรุป
 
การกล่าวชมเด็กทำได้หลายวิธี ดังตัวอย่างต่อไปนี้
 
  • You've discovered the secret         หนูรู้ความลับหมดแล้ว
  • Way to go                                   เก่งจังเลย
  • I'm proud of you                           ครูภูมิใจในตัวหนูมาก
  • Fantastic                                     ยอดเยี่ยม
  • You're on top of it                          หนูเก่งกว่าใครเลย
  • Now you've got it                           ตอนนี้ หนูทำได้แล้ว
  • Incredible                                     เหลือเชื่อจริง ๆ
  • You're on your way                        หนูมาถูกทางแล้วละ
  • Good for you                               เป็นเรื่องดีสำหรับเธอ
  • Remarkable job                           หนูทำงานได้ยอดเยี่ยม
  • Beautiful work                             งานนี้เยี่ยมมาก
  • Magnificent                                 เลิศ
  • Phenomenal                                น่าอัศจรรย์
  • Creative job                                 ช่างคิดดีนะ
  • What an imagination                     คิดได้ยังไงนี่
  • You make me laugh                      หนูทำให้ครูหัวเราะออก
  • You brighten my day                    หนูทำให้ครูมีความสุข
  • You mean the world to me            หนูมีความหมายกับครูมาก
  • Awesome                                     สุดยอด
  • Hurray for you                               ไชโย
  • A hug – a kiss - a smile                 ขอครูกอด ขอครูหอมหน่อย
 
(จบ)


ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก