ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

ใครกำลังทดสอบใครกันแน่? ตอนที่ 3

Amy D. Herschell, Laurie A. Greco, Holly A. Filcheck และ Cheryl B. McNeil (2002)
คำแนะนำ 10 ประการในการจัดการกับพฤติกรรมก่อกวนของเด็กเล็กในระหว่างการทดสอบ
 
การตอบโต้พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
 
8. ใช้การวางเฉยและพยายามเบนความสนใจ
 
การวางเฉยต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็กที่แสดงออกเพื่อเรียกร้องความสนใจอย่างจริงจัง จะช่วยลดพฤติกรรมดังกล่าวของเด็กลงไปได้ พฤติกรรมทั่วไปที่ควรได้รับการวางเฉยขณะทำการทดสอบ ได้แก่ การร้องงอแง ตะเบ็งเสียง ร้องไห้ เล่นเชือกผู้รองเท้า รู้สึกกระวนกระวาย วางอำนาจ ลุกออกจากที่ขณะเล่น เคาะโต๊ะ และทำของหล่นลงบนพื้น เป็นต้น ขอเตือนว่า เมื่อวางเฉยกับพฤติกรรมดังกล่าวแล้ว เด็กมักจะมีอาการแย่ลงไปกว่าเดิมสักพัก ก่อนที่จะรู้สึกดีขึ้นเอง เมื่อใดที่ผู้ทดสอบเลือกใช้กลยุทธ์นี้ จะต้องทำตามให้ตลอด จำไว้ด้วยว่า ถ้าหากนำมาใช้อย่างสม่ำเสมอ พฤติกรรมไม่ดี และการเรียกร้องความสนใจจะลดลง
 
ส่วนสำคัญของการวางเฉยอย่างจริงจัง คือ ต้องให้เด็กรู้ตัวว่าตนถูกละเลย มิฉะนั้น เด็กอาจคิดว่า ผู้ทดสอบมองไม่เห็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของตน หรือการกระทำนั้นเป็นที่ยอมรับ ก่อนจะเริ่มการทดสอบ ผู้ทดสอบควรอธิบายให้เด็กรู้ว่า จะไม่มีใครสนใจถ้ามีการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมา ผู้ทดสอบควรทำท่า แสดงให้เด็กเห็นกิริยาวางเฉย ซึ่งได้แก่การหมุนตัวออกห่างจากเด็ก ไม่พูดไม่จา ไม่มองสบตา สีหน้าที่แสดงความรู้สึกใด ๆ และไม่มีการตอบโต้ใดๆ ต่อเด็ก (Hembree-Kigin & McNeil, 1995)
 
การวางเฉยอย่างจริงจังสามารถนำมาใช้ร่วมกับแรงเสริมให้เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม ในขณะที่ทำวางเฉยกับเด็ก ผู้ทดสอบควรจับตามองเด็กแว่บแรกที่เขาแสดงพฤติกรรมดีให้เห็น เมื่อมีการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมออกมา ผู้ทดสอบควรหันกลับมา กล่าวชมเชยอย่างเจาะจง และเบนความสนใจของเด็ก เช่นถ้าเด็กกำดินสอนิ่งหลังจากที่ได้ทุบโต๊ะอย่างก้าวร้าว ผู้ทดสอบควรหันกลับมาดูเด็ก และพูดอย่างตื่นเต้นว่า “ขอบใจนะที่ถือดินสอนิ่งอยู่อย่างนั้น ครูชอบการที่หนูนั่งนิ่ง ไม่พูดไม่คุย พร้อมที่จะทำงาน เอาละ เราจะมาเริ่มกันเลย” บางครั้ง การใช้วิธีการวางเฉยอย่างจริงจังและเบนความสนใจของเด็กแต่เพียงอย่างเดียวนั้น ไม่เพียงพอที่จะดึงเด็กกลับมาสนใจการทดสอบได้ ในกรณีดังกล่าว เราแนะนำให้ใช้การทำให้เด็กไขว้เขว ร่วมกับการวางเฉย และการเบนความสนใจของเด็ก (Hernbree-Kigin & McNeil, 1995; Sattler, 1992) รางวัลที่จับต้องได้ มักถือว่าเป็นเครื่องทำให้เด็กไขว้เขวอย่างได้ผลเสมอ ตัวอย่าง เช่น ถ้าเด็กลุกออกจากโต๊ะ ผู้ทดสอบควรผละออกมาจากเด็ก ทำเป็นไม่สนใจ แล้วมองลงไปในหีบมหาสมบัติแล้วพูดออกมาอย่างตื่นเต้นว่า “โอ้โฮ! นี่มันไดโนเสาร์เรืองแสงได้ในความมืดนี่ ถ้าได้เล่นของเล่นชิ้นนี้ คงจะสนุกดี” พอเด็กกลับมาเข้ามานั่งที่ ผู้ทดสอบควรจะกล่าวชมเด็กแบบเจาะจง และเบนความสนใจเด็ก โดยพูดว่า “ขอบใจนะ ที่หนูกลับเข้ามานั่งที่ ตอนนี้ เราจะเริ่มทำบททดสอบกันต่อแล้ว พอทำเสร็จ หนูจะมาจับรางวัลจากหีบมหาสมบัตินี่ไปได้เลย” แต่ถ้าผู้ทดสอบจะไม่ใช้รางวัลที่จับต้องได้ ก็ให้ใช้อุปกรณ์การทดสอบเพื่อดึงความสนใจของเด็ก เช่น ผู้ทดสอบอาจพูดว่า “โอ้โฮ! ยังมีอะไรให้เล่นสนุก ๆ อีกตั้งหลายอย่างอยู่ในกระเป๋าของครู มีทั้งตัวต่อไม้ เกมปริศนา หนังสือ ครูสงสัยจังเลยว่า เราจะทำอะไรต่อไปกันดี บางที ครูอาจจะเอาตัวต่อไม้ออกมา หลังจากเราทำบททดสอบนี้เสร็จดีไหม”
 
9. ใช้คำพูดให้เด็กเลือก
 
คำพูดให้เด็กเลือก จะทำให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง ควรยอมให้โอกาสเด็กเป็นคนเลือก ระหว่างการทำตัวให้ดี หรือจะยอมรับผลที่จะตามมาจากการแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีอย่างเดิม มีถ้อยคำที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่งผู้ทดสอบสามารถนำมาใช้กับเด็ก (McNeil, Herschell, & Filcheck, 1999; see Table 3 for examples)

ตารางที่ 3 ใช้คำพูดให้เด็กเป็นคนเลือกเองในระหว่างการทดสอบ
 
ประเภทของพฤติกรรมที่ใช้ทดสอบ คำที่ควรใช้ ตัวอย่าง
พฤติกรรมอยู่ไม่สุข เมื่อไร - เมื่อนั้น เมื่อไร ที่หนูนั่งอยู่กับที่ เมื่อนั้นครูก็จะบอกให้หนูรู้ว่าเราจะทดสอบอะไรต่อไป
แย่งชิงอุปกรณ์การทดสอบ เมื่อไร - เมื่อนั้น เมื่อไร ที่หนูส่งก้อนตัวต่อมาให้ครู เมื่อนั้น เราถึงจะทดสอบต่อ
ฟ้องครู และร้องงอแง ถ้า...เมื่อไร - เมื่อนั้น ถ้า หนูทำอีกสองเรื่องเสร็จเมื่อไร เมื่อนั้น เราก็จะหยุดพักคั่นเวลากันเลย
ขัดจังหวะ ถ้า...เมื่อไร - เมื่อนั้น ถ้า หนูรอจนกว่าครูจะอ่านคำสั่งจบเมื่อไร เมื่อนั้น หนูก็จะได้รับสติ๊กเกอร์
มัวเล่นกับอุปกรณ์แม้ว่าจะทดสอบเสร็จแล้ว ไม่อย่างนี้ - ก็อย่างนั้น
(ถ้า..ไม่..ละก็ – ก็จะ...)
ถ้า หนูจะไม่ใส่ตัวต่อทั้งหมดลงในกล่องเองละก็ ครู ก็ จะเป็นคนทำให้หนูเอง
ทุบโต๊ะ ไม่อย่างนี้ - ก็อย่างนั้น
(ถ้า..ไม่..ละก็ – ก็จะ...)
ถ้า หนูไม่ยอมนั่งเงียบ ๆ ละก็  ครู ก็จะ ไม่ยุ่งกับหนู ไม่สนใจหนูอีกต่อไป
(ผู้ทดสอบผละไปจากเด็กและแสดงอาการไม่สนใจอย่างจริงจัง)
มองดูผิดหวังและเหนื่อย ครูให้หนูเลือกเองว่า เราต้องทำกิจกรรมอีกสองบทให้จบ ครูให้หนูเลือกเองว่า เราจะหยุดคั่นเวลาในตอนนี้ หรือเราจะยังทำต่อไปแล้วได้เลิกเร็วขึ้น
แสดงท่านั่งอย่างทหาร ครูให้หนูเลือกเองว่า เมื่อหนูจำท่านั่งอย่างทหารได้ หนูก็จะได้อะไรเป็นพิเศษอย่างหนึ่ง ครูให้หนูเลือกเองว่า หนูจะเลือกสติ๊กเกอร์ หรือลูกอมหนึ่งเม็ด

 

ในการใช้คำพูดเพื่อให้เด็กเลือกนั้น จำเป็นที่ผู้ทดสอบจะต้องทำตามเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นนั้น ๆ โดยตลอด (McNeil และคณะ, 1999) เพื่อให้คงความน่าเชื่อถือไว้ได้ เช่นเดียวกับการควบคุมสถานการณ์ในการทดสอบ จึงเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ผู้ทดสอบจะต้องงดเว้นการแกล้งขู่เด็ก (เช่น “เราอยู่กันในห้องนี้ได้ตลอดทั้งวันทั้งคืนเลยนะ”) นอกจากนี้ การที่ผู้ทดสอบต้องหลีกเลี่ยงการใช้น้ำเสียงข่มขวัญเด็ก ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญด้วยเช่นกัน (McNeil และคณะ, 1999) เด็กที่มีพฤติกรรมสร้างปัญหามักจะแสดงพฤติกรรมต่อต้านและก่อกวนเป็นการตอบโต้คำพูดบอกให้เลือกของผู้ทดสอบ ที่ใช้น้ำเสียงข่มขวัญตน
(Hembree-Kigin & McNeil, 1995) ดังนั้น คำพูดให้เด็กเลือกทุกคำ ผู้ทดสอบจะต้องพูดออกมาอย่างราบเรียบ แต่หนักแน่น

10. คงความคาดหวังในพฤติกรรมไว้

แม้การยอมรับเด็กที่กำลังแสดงพฤติกรรมก่อกวนอาจเป็นเรื่องยั่วใจ แต่ก็สมควรหลีกเลี่ยง แทนที่จะทำอย่างนั้น ผู้ทดสอบควรตัดสินใจก่อนทำการทดสอบว่า พฤติกรรมแบบใดที่พอยอมรับได้ อธิบายความคาดหวังดังกล่าวให้เด็กรู้ในทันที ก่อนการทดสอบทุกครั้งจะเริ่มขึ้น และควรคงมาตรฐานเดียวกันของพฤติกรรมตลอดการทดสอบแต่ละครั้งด้วย พฤติกรรมในการทดสอบที่ยอมรับได้ คือ พฤติกรรมที่อาจแสดงออกอย่างเกินเลยไปบ้าง แต่ไม่ถึงกับขัดจังหวะการทดสอบ ตัวอย่างเช่น การที่เด็กนั่งแกว่งเท้าใต้เก้าอี้หรือทำเสียงฮัม ขณะกำลังทดสอบเรื่องปัญหาในการเขียน ถือว่าเป็นการแสดงออกของพฤติกรรมที่ยอมรับได้ ในทางกลับกัน พฤติกรรมที่ไม่อาจยอมรับได้ คือ พฤติกรรมที่ขัดจังหวะการทดสอบ ( เช่นไม่ยอมทำตามคำสั่ง หยิบฉวยอุปกรณ์การทดสอบ อีกประการหนึ่ง ปัจจัยสำคัญที่นำเข้ามาประกอบการพิจารณาพฤติกรรมในการทดสอบ ว่าเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมนั้น คือ อายุ และระดับพัฒนาการทางสมองของเด็ก (Culbertson & Willis, 1993) เด็กหลายคนแสดงออกซึ่งพฤติกรรมก่อกวนบ่อยจนเกินขีดจำกัดของการทดสอบ พวกเขาอยากรู้ว่ากฎต่าง ๆ นั้น ยืดหยุ่นได้มากน้อยแค่ไหน ดังนั้น จึงอยากจะทดสอบผู้ทดสอบด้วยการฝ่าฝืนกฎที่ไม่รุนแรงตั้งแต่แรก หากไม่มีผลตามมาสำหรับการฝ่าฝืนกฎข้อที่ไม่ค่อยรุนแรงนี้แล้ว เด็ก ๆ ก็จะฝ่าฝืนกฎอีกข้อหนึ่ง แล้วก็อีกข้อหนึ่ง จนกว่าจะเกิดผลลัพธ์ขึ้น เราพบว่า พฤติกรรมนี้ ดูเหมือนจะเพิ่มระดับขึ้นไปอีก ถ้าผู้ทดสอบทำให้มีผลขึ้นตั้งแต่ต้นของลำดับเหตุการณ์นี้

คำร้องขอของเด็กที่เกิดขึ้นทุกวันจากเด็กที่คล่องแคล่ว คือการยกอุปกรณ์การทดสอบ ที่จริงก็เป็นเรื่องที่น่าจะตกลงกันโดยเสนอให้มีการประนีประนอม แต่ตามปกติแล้ว ไม่แนะนำให้ใช้กับเด็กที่มีพฤติกรรมก่อกวน เพราะเด็กหลายคนไม่อาจรู้ข้อจำกัดของการยกอุปกรณ์ ตัวอย่างเช่น ผู้ทดสอบอาจยอมให้บางเด็กได้เปิดหน้าหนังสือที่ใช้เป็นตัวกระตุ้นความสนใจด้วยความระมัดระวัง เด็กคนเดียวกันนี้จะเกิดความรู้สึกอยากเปิดหนังสือโดยอิสระ แล้วก็อยากจะเป็นคนถือหนังสือ และมากขึ้นไปเรื่อยๆ อีกนัยหนึ่ง คือ สำหรับเด็กบางคนนั้น ถ้าคุณยอมอนุญาตให้แค่เพียงคืบ เด็กก็จะต้องการให้ได้สักศอก แทนที่คุณจะให้ ‘คืบ’ กับเด็ก ขอให้ยึดถือกฎและความคาดหวังต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้ให้เหนียวแน่น

บทสรุป

การจัดวางตัวบุคคลทางด้านการศึกษาและการตัดสินใจเรื่องการรักษาทางจิต มักยึดถือตามผลลัพธ์ของคะแนนการทดสอบ เมื่อพิจารณาว่า การตัดสินใจเรื่องนี้มีความสำคัญต่อชีวิตของเด็ก ๆ เพียงใดแล้ว จึงจำเป็นที่จะต้องให้คะแนนการทดสอบมีความถูกต้อง เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงระดับทักษะของเด็ก เด็กที่มีพฤติกรรมก่อกวนจะทำให้ผู้ทดสอบรับรู้ถึงสิ่งท้าทายเฉพาะตัว เด็กเหล่านี้ มักจะถูกส่งเข้ามาทดสอบอยู่เสมอด้วยพฤติกรรมสุดโต่งซึ่งอาจไม่เคยได้รับการจัดการ ที่ส่งผลกระทบที่เสียหายต่อผลการทดสอบ
กลยุทธ์ต่างๆ ที่แนะนำมานี้ ออกแบบมาเพื่อจัดการกับพฤติกรรมสร้างปัญหาระหว่างการทดสอบ และส่งผลไปยังคะแนนตัวอย่างและประสบการณ์ที่ดีจากการทดสอบ ทั้งของเด็กและผู้ทดสอบ

เกี่ยวกับคณะผู้เขียน
 
ปัจจุบัน ผู้เขียนบทความ คือ Amy D. Herschell M.A., Laurie A. Greco, M.A. และ Holly A. Filcheck, M.A. กำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัย West Virginia และกำลังจะเสร็จสิ้นงานวิจัยและคลินิกทางด้านการจัดการกับความผิดปกติจากพฤติกรรมก่อกวนในเด็กเล็ก ส่วนCheryl B. McNeil, Ph.D. ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ทางด้านจิตวิทยาในโครงการระดับคลินิกสำหรับเด็กที่มหาวิทยาลัย West Virginia ความสนใจในงานวิจัยและคลินิกของเธอ มุ่งไปที่การพัฒนาและประเมินผลโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องที่เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง ของพ่อแม่ผู้ปกครอง และการจัดการกับพฤติกรรมก่อกวนของเด็กเล็กทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน เธอเป็นผู้เขียนร่วมของหนังสือสองเล่ม (คือ Parent-Child Interaction Therapy Disruptive และ Short-Term Play Therapy for Children) จัดทำชุดโสตทัศน์และวีดิทัศน์ต่อเนื่องทางการศึกษา (ชื่อ Working with Oppositional Defiant Disorder in Children) และโครงการการจัดการกับชั้นเรียน (ชื่อ The ADHD Classroom Kit
ที่อยู่: Cheryl B. McNeil, Department of Psychology, West Virginia University, PO Box 6040, Morgantown, WV 26506-6040; หรือ e-mail at cmcneil@wvu.edu
 
 

 

แปลและเรียบเรียงจาก Who is Testing Whom? โดย Amy D. Herschell, Laurie A. Greco, Holly A. Filcheck, and Cheryl B. McNeil (2002) โดยส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181