ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

ใครกำลังทดสอบใครกันแน่? ตอนที่ 1

Amy D. Herschell, Laurie A. Greco, Holly A. Filcheck และ Cheryl B. McNeil (2002)

คำแนะนำ 10 ประการในการจัดการกับพฤติกรรมก่อกวนของเด็กเล็กในระหว่างการทดสอบ

 

เด็กที่แสดงออกถึงพฤติกรรมก่อกวนอย่างรุนแรงนั้น อาจคิดเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ที่สูงในหมู่เด็กที่ถูกระบุให้เข้ารับการทดสอบ เด็กเหล่านี้ดูจะเป็นสิ่งท้าทายความสามารถเมื่อต้องทำการทดสอบ แม้ว่าผู้ทดสอบจะมีความเชี่ยวชาญเพียงใดก็ตาม เพราะพฤติกรรมของเด็กเหล่านี้คือ กระตือรือร้นจนเกินเหตุ  ไม่เชื่อฟังใคร และขาดความเคารพยำเกรง ปกติจะไม่ชอบสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบที่เหมาะสมต่อการทดสอบ อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจครั้งสำคัญอย่างยิ่งยวดในเรื่องการจัดวางตัวบุคคลทางด้านการศึกษา และการรักษาทางด้านจิตใจ มักอาศัยผลลัพธ์จากการทดสอบที่ว่านี้เอง วัตถุประสงค์ของการเขียนบทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอคำแนะนำ 10 ประการ ที่ผู้ทดสอบสามารถนำไปสำหรับจัดการกับพฤติกรรมก่อกวน ให้สามารถดึงพฤติกรรมการแสดงออกในทางที่ดีออกมาจากตัวเด็ก เพื่อช่วยให้การทดสอบครั้งนั้น เกิดความราบรื่นเป็นสุขกับทั้งเด็กและผู้ทดสอบ

 

ผู้ทดสอบมักได้รับการร้องขอให้ทำการทดสอบเด็กที่แสดงออกถึงพฤติกรรมที่มีปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับการมีสิทธิรับเลือกเข้าทำการทดสอบเพื่อการจัดวางตัวบุคคลในการขอรับการศึกษาพิเศษ และการตัดสินเรื่องความจำเป็นในการขอรับการรักษาทางด้านจิตใจ ในขณะทดสอบเด็กอาจแสดงออกถึงพฤติกรรมต่างๆ นับตั้งแต่การร้องไห้งอแง ฟ้องครู ไปจนถึงไม่ยอมทดสอบให้เสร็จ แล้วรีบออกไปจากสถานที่ทดสอบ น่าเสียดายที่ผู้ทดสอบส่วนมากไม่มีประสบการณ์ หรือไม่ก็ไม่เคยรับการอบรมวิธีจัดการกับพฤติกรรมก่อกวนสภาพแวดล้อมของการทดสอบ อย่างไรก็ดี พฤติกรรมก่อกวนมักเกิดขึ้นบ่อย ๆ และอาจทำให้ผลการทดสอบของเด็กตกต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด หลังจากได้เรียนรู้ถึงปัญหาที่เกิดในช่วงการทดสอบอยู่หลายครั้ง เราจึงได้จัดทำคำแนะนำต่าง ๆ ที่จะกล่าวถึงต่อไป มาช่วยแนะแนวทางให้กับผู้ทดสอบที่ยังมีประสบการณ์ไม่มาก และเพื่อนำเสนอแนวคิดใหม่ ๆ สำหรับผู้ทดสอบที่มีประสบการณ์อยู่แล้ว

 

กลยุทธ์ 10 ประการ ที่ออกแบบมาเพื่อทำให้สถานการณ์ของการทดสอบที่มีปัญหา มีประสิทธิภาพและราบรื่นขึ้น สำหรับทั้งเด็กและผู้ทดสอบนี้ เน้นคุณค่าของการส่งเสริมพฤติกรรมที่มีความเหมาะสมในระหว่างทำการทดสอบ (เช่น การนั่ง การให้ความสนใจ การตั้งใจฟังคำสั่ง) ไม่ใช่แก้ไขตรงการโต้ตอบที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น คำแนะนำต่อไปนี้ จะเน้นเพียงการป้องกันและจัดการกับพฤติกรรมก่อกวน โดยการกำหนดเป้าหมาย และส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมในระหว่างทำการทดสอบ หากกลยุทธ์เหล่านี้ถูกนำมาใช้เมื่อใด จะต้องบันทึกไว้ในรายงานการทดสอบด้วย

กลยุทธ์ดังกล่าวจัดแบ่งออกเป็น 3 หมวดด้วยกัน คือ:

     1. กลยุทธ์ที่อาจนำไปใช้ก่อนการทดสอบ

     2. กลยุทธ์ที่อาจนำไปใช้เพื่อป้องกันพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

     3.  กลยุทธ์ที่อาจนำไปใช้เพื่อโต้ตอบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหากเกิดมีขึ้น (ตารางที่ 1)

คำแนะนำเหล่านี้ ถูกนำเสนอในรูปของคำแนะนำต่างๆ ซึ่งอาจนำไปใช้แบบผสมผสานหรือใช้โดดๆ ก็ได้ กลยุทธ์ต่าง ๆ ที่มาช่วยในการทำงานกับเด็กอายุระหว่าง 2 ถึง 12 โดยเฉพาะนี้ สามารถปรับใช้กับเด็กที่อายุมากกว่าหรือน้อยกว่านี้ได้เช่นกัน

ก่อนการทดสอบ

 

1. ให้ความสนใจกับองค์ประกอบ

ในสถานการณ์ของการทดสอบใดก็ตาม องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ โดยเนื้อแท้แล้ว เด็กควรได้รับการผลักดันไปสู่ความสำเร็จ เช่นที่ได้ระบุไว้ในคู่มือการทดสอบหลายเล่ม (Wechsler, 1989, 1991) และตำราการประเมินผล (เช่น Sattler, 1992) ว่า ห้องที่ใช้ทำการทดสอบ ควรปลอดจากสิ่งต่างๆ ที่จะทำให้เด็กว่อกแว่ก ไฟแสงสว่างจะต้องไม่ส่องสะท้อนกับอุปกรณ์ในการทดสอบ อุณหภูมิห้องควรปรับให้อยู่ได้อย่างสบาย และโต๊ะที่ใช้ในการทดสอบควรจะเหมาะกับความสูงของเด็ก

 

ควรระบุถึงปัญหาทางองค์ประกอบเพิ่มเติมอื่น ๆ เพื่อกระตุ้นให้ได้ผลการทดสอบที่ดีที่สุดจากเด็กที่กำลัง

 

ทำพฤติกรรมก่อกวน หรือมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ การเคลื่อนไหวในระดับสูงของเด็กนั้นยากที่จะควบคุมได้ในห้องขนาดเล็กภายในระยะเวลายาวนานอย่างนั้น ขั้นแรกที่จะทำให้การทดสอบเสร็จสมบูรณ์คือจับเด็กที่ซุกซนมาก ๆ ไว้ภายในห้อง การที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว โต๊ะที่ใช้ทดสอบควรตั้งอยู่เป็นตำแหน่งแห่งที่ เพื่อให้ผู้ทดสอบอยู่ในตำแหน่งระหว่างเด็กและประตูห้อง บางครั้งจะเป็นการดีกว่า ถ้าคุณจะล็อกประตูห้องทดสอบไว้เลย ถ้าห้องทดสอบนั้น ๆ มีกระจกมองด้านเดียว เด็กควรจะนั่งหันหลังให้กระจกนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมนอกเรื่องเช่นทำหน้าทำตาเล่นกับกระจก การดันเก้าอี้หนัก ๆ (เช่น เก้าอี้ไม้ของผู้ใหญ่ที่กันลื่นไถล) เข้าไปชิดโต๊ะ ให้หลังเก้าอี้ติดกำแพงหรือมุมห้อง จะช่วยให้เด็กลุกจากที่นั่งได้ยากขึ้น เวลาเพียงแค่สองสามวินาทีที่เด็กพลิกตัวออกจากเก้าอี้ทดสอบ อาจมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับผู้ทดสอบกว่าจะสามารถกลับเข้าไปควบคุมสถานการณ์ได้ใหม่ (Bradley-Johnson, Graham, & Johnson, 1986) และนั่นก็มีผลต่อผลคะแนนของการทดสอบ เด็กที่ความบกพร่องทางการเรียนรู้ อาจมีปัญหากับความสนใจในอุปกรณ์ในการทดสอบต่าง ๆ สภาพแวดล้อมของการทดสอบที่มีองค์ประกอบลงตัว ซึ่งมีความสำคัญต่อเด็กเหล่านี้ จะต้องพยายามให้มีสิ่งที่ทำให้เด็กเสียสมาธิน้อยที่สุด และให้ได้ผลการทดสอบที่ดีที่สุด

 

2. ตั้งกฎและสอนเด็กให้ทำ ‘ท่าเตรียมพร้อม’

กฎของการทดสอบ

ก่อนการทดสอบจะเริ่มขึ้น ผู้ทดสอบควรตั้งกฎหลัก ๆ สักสองสามข้อที่มีความชัดเจนขึ้นมา เพื่อช่วยใน

การจัดการกับพฤติกรรมของเด็ก โดยการให้คำจำกัดความที่ชัดเจนถึงพฤติกรรมของเด็กที่หวังจะเห็นล่วงหน้า ผู้ทดสอบจะต้องพยายามผลักดันให้เด็กทำสำเร็จให้ได้ สำหรับเด็กในวัยเรียน กฎเกณฑ์ทั่วไปอย่างเช่น “ให้นั่งอยู่กับที่” “ทำสอบให้ดีที่สุด” และ “ฟังและทำตามคำสั่ง” จะต้องนำมาบอกกล่าว ผู้ทดสอบยังจะต้องแนะนำกฎต่าง ๆ ก่อนเริ่มการทดสอบ และหมั่นทวนให้เด็กฟังตลอดการทดสอบ ตัว อย่างเช่น ระหว่างการทดสอบย่อย ผู้ทดสอบอาจถามเด็กเกี่ยวกับกฎของการทดสอบ แล้วกล่าวชมเชยเมื่อเด็กระบุและแสดงกฎข้อบังคับได้อย่างถูกต้อง

 

สอนเด็กให้ทำ ‘ท่าเตรียมพร้อม’

น่าจะดีถ้าคุณจะสอนให้เด็กอยู่ในท่าเตรียมพร้อมการที่จะกล่าวนำการทดสอบ ด้วยการอธิบายวิธีการนั่งที่เหมาะสมให้ฟังเป็นการเจาะจง (เช่น ตัวตรง เงียบ และนิ่ง) ผู้ทดสอบควรทำท่าเตรียมพร้อม และฝึกทำไปพร้อมกับเด็ก ท่าทางดังกล่าวเปรียบได้กับการให้สัญญาณแก่ทั้งตัวผู้ทดสอบเองและเด็ก เป็นการให้สัญญาณว่าเด็กพร้อมสำหรับการทดสอบแล้ว

ท่านั่งอย่างทหาร

เนื่องจากความแตกต่างของความสามารถในกระบวนการรับรู้ระหว่างเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยประถม กฎและคำสั่งที่ใช้ในการทดสอบที่อธิบายถึงการทำท่าเตรียมพร้อม อาจไม่จำเป็นต้องมีการปรับแต่งให้ตรงตามความต้องการ (เช่น อายุตามปีปฏิทิน ระดับพัฒนาการ) ของเด็กแต่ละคน สำหรับเด็กเล็ก คงต้องสอนท่าเตรียมพร้อมให้ เพื่อให้เด็กจำได้ง่ายและสนุกสนานไปด้วยโดยการบอกให้นั่งในท่าทหาร การทำเช่นนี้ต้องอาศัยการอธิบายอย่างกระตือรือร้นให้ฟังว่าจะต้องนั่งให้เหมือนกับทหาร ตัวตรง ไม่พูด และนิ่ง จากนั้น ก็ทำท่านั่งแบบทหารให้ดู แล้วลองให้เด็กฝึกทำท่าเองบ้าง

       ตารางที่ 1. กลยุทธ์ คำอธิบาย และตัวอย่างของการจัดการกับพฤติกรรมก่อกวนอย่างรุนแรงในระหว่างการทดสอบ
 

กลยุทธ์ คำอธิบาย/ตัวอย่าง
  ก่อนการทดสอบ
1. ให้ความสนใจกับองค์ประกอบ ในการทดสอบเด็กที่คึกคะนอง ผู้ทดสอบควรคำนึงถึง
  • กำหนดตำแหน่งที่อยู่ของตนให้อยู่ระหว่างเด็กและประตู เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กมีโอกาสผละออกไปจากห้อง

  • วางเก้าอี้ของเด็กให้ชิดกับโต๊ะ และให้ด้านหลังเก้าอี้ติดกำแพงหรืออยู่ตรงมุมห้อง เพื่อให้เด็กลุกออกมาจากเก้าอี้ได้ยาก
2. กำหนดกฎเกณฑ์มาควบคุม ในช่วงการทดสอบ 2-3 ข้อ และท่าเตรียมพร้อม เพื่อช่วยจัดการกับพฤติกรรมของเด็ก ก่อนจะเริ่มการทดสอบ ผู้ทดสอบอาจต้องอธิบายกับเด็กในวัยเรียนว่า

“ในช่วงเวลาที่เราจะอยู่ร่วมกันในวันนี้ จะมีกฎที่ต้องทำตาม 2 ข้อ ข้อแรกคือ เด็กๆ ต้องนั่งที่ และกฎข้อสอง ทุกคนต้องทำตามคำสั่ง” ถ้าจัดเตรียมรางวัลไว้ (ซึ่งขอแนะนำให้ใช้กับเด็กที่มีพฤติกรรมที่สร้างปัญหา) ผู้ทดสอบอาจพูดต่อไปอย่างกระตือรือร้นว่า “ถ้าเด็ก ๆ ทำตามกฎทั้งสองข้อนี้ ก็จะได้รับสติ๊กเกอร์และแสตมป์ และถ้าสะสมทั้งสองอย่างได้มากพอ ก็มีสิทธิ์จะได้จับรางวัลในหีบมหาสมบัติ ในนั้นมีของเล่นสวยน่ารัก ที่เด็กจะเป็นเจ้าของได้ถ้าทำตัวตามกฎง่ายๆ สองข้อนี้”

ก่อนเริ่มต้นการทดสอบ ผู้ทดสอบอาจอธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า “มีวิธีนั่งแบบพิเศษระหว่างการทดสอบด้วย เป็นท่าที่ครูขอเรียนว่า ท่าเตรียม พร้อม  เพราะจะช่วยให้ครูเห็นได้ว่าเด็ก ๆ พร้อมสำหรับขั้นตอนต่อไปแล้ว ท่านี้ทำอย่างนี้ (ผู้ตรวจสอบทำท่าให้ดูแล้วขอให้เด็กลองฝึกทำ)เราจะทำท่าพร้อมโดย นั่งตัวตรง ไม่พูดไม่คุย และนั่งนิ่งๆ อย่างทหาร”
  ป้องกันพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
3. หมั่นชมเด็กในสิ่งที่คุณพอใจบ่อย ๆ การให้รางวัลเด็กโดยการสังเกตและส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีงามนั้น อาจช่วยป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมขึ้นกับเด็กได้ พร้อม ๆ กับช่วยทำให้สภาพแวดล้อม/บรรยากาศของการทดสอบนั้นเป็นไปในทางที่ดี และเป็นการส่งเสริมความสามัคคีไปด้วย พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกในระหว่างการทดสอบที่เฉพาะเจาะจงควรแก่การชมเชยได้แก่ ตั้งใจฟัง ใช้เสียงที่เหมาะสมกับห้องเรียน เก็บไม้เก็บมือ มีความระมัดระวังในการใช้อุปกรณ์การทดสอบ รู้จักรอจนกว่าจะมีการอ่านคำสั่งก่อนเริ่มการทดสอบ นั่งนิ่ง และทำตามคำสั่ง
4.ออกคำสั่งให้ได้ผลตาม
ต้องการ
เด็ก ๆ จะยอมร่วมมือเป็นอย่างดีกับคุณ ถ้าใช้คำสั่ง:
 
  • แบบประเด็น ไม่อ้อมค้อม ( เช่น “Greg ช่วยส่งก้อนตัวต่อพวกนั้นมาให้หน่อย” ไม่ใช่ “Greg ครูอยากได้ตัวคั่นพวกนั้นคืน”)
 
  • มีความหมายในเชิงบวก (เช่น   “Greg ทำให้ครูดูหน่อยสิว่าเด็กผู้ชายตัวโตๆ จะค่อย ๆ เดินไปในห้องโถงได้ยังไง” ไม่ใช่ “Greg หยุดวิ่งหน่อย”)
 
  • ที่เป็นประโยคเดี่ยว ไม่ใช่ประโยคซ้อน  (เช่น “Greg ช่วยทำท่าเตรียมพร้อมให้ครูดูทีสิ” แทนที่จะพูดว่า “Greg  หยุดกลิ้งเกลือก หยุดเดินวุ่นวายไปทั่วห้องเสียที”
 
คุณอาจนำเทคนิคแผ่นเสียงตกร่องมาใช้ร่วมด้วย โดยการพูดคำสั่งเดิมนั้นซ้ำ ๆ กันแบบคำต่อคำได้มากถึงสามครั้ง ในกรณีที่เด็กไม่ทำตาม
5. ใช้วิธีการให้รางวัลที่สัมผัส จับต้องได้ หรือของกิน ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำ มาจัดการกับพฤติกรรมของเด็ก เด็กที่แสดงถึงพฤติกรรมที่สร้างปัญหา มักจะอยากได้รางวัลเป็นกำลังใจและช่วยกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การหยุดคั่นเวลาระหว่างการทำกิจกรรมก็คือการให้รางวัลแก่เด็กที่มีความคึกคะนองมาก ๆ โดยเฉพาะ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีส่วนร่วมในการทดสอบ ผู้ทดสอบอาจอธิบายว่า หลังจากที่เด็ก ๆ ได้รางวัลเป็นสติ๊กเกอร์หรือแสตมป์ตามจำนวนที่คุณกำหนดไว้ก่อน แล้วเด็กและผู้ทดสอบอาจเล่นเกมอย่างเช่น Simon Says* หรือ Go Fish** ร่วมกันก็ได้
 
* Simon Says เป็นกิจกรรมสำหรับการทบทวนเกี่ยวกับส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น "Simon says touch your knees" ครูอาจจะเปลี่ยนชื่อ Simon เป็นชื่อของครูเอง หรือชื่ออื่นก็ได้ แต่เมื่อใดก็ตาม ที่ครูไม่ได้พูดคำว่า "Simon" แต่บอกว่า "Touch your knees" เฉยๆ นักเรียนจะต้องไม่ทำตามคำสั่งนั้น หากนักเรียนทำผิด จะถูกทำโทษให้รอจนกว่าจะถึงรอบต่อไป
 
 ** Go Fish เป็นเกมไพ่ คือ ให้ถือไพ่กันคนละจำนวนหนึ่ง เลือกที่เป็นคู่วางลงข้างหน้า แล้วถามคนถัดไปว่า เขามีไพ่เลขที่เราต้องการหรือไม่ ถ้ามี ก็เอามาจับคู่กับไพ่ของเรา ถ้าไม่มี คนถูกถาม ก็จะบอกว่า ‘go fish’ คือให้เราหยิบไพ่มาจากกองกลาง
6. กำหนดการหยุดคั่นเวลาอย่างระวังรอบคอบ และมีหลักการ การหยุดคั่นเวลา อาจถือเป็นเสมือนรางวัลและช่วงผ่อนคลายของเด็ก (และผู้ทดสอบด้วย) แต่จะต้องมีการพิจารณาเป็นพิเศษในกรณีของเด็กที่มีพฤติกรรมก่อกวน เนื่องจากเป็นช่วงของการผ่อนคลาย และช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ เด็กจึงมักแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมาในช่วงหยุดคั่นเวลานี้เอง ดังนั้น การหยุดคั่นเวลาจะใช้ก็ต่อเมื่อเด็กเริ่มมีท่าทีอ่อนล้า เบื่อหน่าย หรืออึดอัดจน อาจเกิดผลเสียหายต่อผลการทดสอบได้หากฝืนทดสอบต่อไปเท่านั้น และไม่ควรจะหยุดคั่นเวลาในทันทีหลังจากเด็กแสดงพฤติกรรมไม่ดีออกมา
7. ใช้วิธีการเล่า/บรรยาย เสียงสะท้อน และความตื่นเต้นเร้าใจ ทำนองเดียวกับการกล่าวชม การเล่า/บรรยาย เสียงสะท้อน และความตื่นเต้นเร้าใจ ก็เป็นวิธีการที่ดีเยี่ยม ที่ช่วยให้เด็กเกิดความสนใจในพฤติกรรมในการทดสอบที่เหมาะสม
  การตอบโต้พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
8. ใช้การวางเฉยและพยายามหัเบนความสนใจ เมื่อเด็กมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม จะต้องวางเฉย เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่เรียกร้องความสนใจในทางที่ไม่ถูกต้องจากผู้ทดสอบ เช่น ร้องไห้งอแง แผดเสียง หรือฟ้องครู แล้วพยายามเบนความสนใจของเด็ก เช่น
 
  • เด็ก (งอแง): “นี่มันยากเกินไป ผมเกลียดมัน”ผู้ทดสอบ: “โอ้โฮ เธอนี่นั่งอยู่กันอย่างเรียบร้อยเสียจริงๆ ขอบใจนะจ๊ะที่นั่งตัวตรงอย่างนั้น เพราะเธอพร้อมแล้วนั้นเอง เราจะค่อย ๆ ทำกันต่อไปนะจ๊ะ”
 
  • พฤติกรรมที่ถือว่าเป็นอันตรายหรือก่อกวน จะใช้วิธีทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ไม่ได้
9. ให้เด็กมีทางเลือก ด้วยการใช้คำว่า  ‘ต่อเมื่อ-จึง’ ‘ถ้า-จึง’ ‘ถ้าไม่-ละก็’ และบอกเด็กให้เลือกระหว่างสองทางเลือกนั้น นอกเหนือจากการให้ทางเลือกกับเด็กเกี่ยวกับการรับรางวัลและกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว การให้ทางเลือกกับเด็ก ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะใช้จัดการกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กเกิดทำพฤติ กรรมที่ไม่เหมาะสม ผู้ทดสอบสามารถอนุญาตให้เด็กเลือกระหว่างการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมและรับรางวัลไป หรือยังคงแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมนั้นต่อไป โดยไม่ได้รับรางวัล และเด็กจะต้องยอมรับผลที่ตามมาด้วย ดังนี้:
  •  “ต่อเมื่อเธอ นั่งที่  ครูจึงจะให้เธอทำกิจกรรมสนุกๆ ต่อไป”
 
  •  “ถ้าเธอนั่งให้ได้อย่างทหาร เราจึงจะทำกันต่อไป”
 
  • “ถ้า เธอ ไม่ใส่ตัวต่อพวกนี้ลงในกล่องให้เรียบร้อยเองละก็ ครูก็จะทำเอง”
 
  •  “เธอมี สองทางเลือก  ถ้าเธอไม่ส่งก้อนตัวต่อพวกนั้นมา เธอก็จะไม่ได้สติ๊กเกอร์”
10. รักษามาตรฐานของการแสดงพฤติกรรมไว้ให้ได้ตลอดการทดสอบ คำร้องขอตามปกติของเด็กที่มีความคึกคะนองคือ ขอถืออุปกรณ์ในการทดสอบเอง แทนที่คุณจะยอมให้เด็กมีข้อจำกัดในเรื่องพฤติกรรมในการทดสอบ ควรกำหนดมาตรฐานของการแสดงพฤติกรรมที่คาดหวังไว้ก่อนเริ่มต้นการทดสอบ และรักษากฎต่าง ๆ ไว้ให้ได้ตลอดการทดสอบทุกครั้ง

ผู้ทดสอบอาจสอนเด็กให้แสดงท่าเตรียมพร้อม หรือท่านั่งแบบทหารได้ตลอดเวลาในระหว่างการทดสอบ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่าทหารนั่งอาจมีประโยชน์ในกรณีที่เด็กมีพฤติกรรมนั่งอยู่ไม่สุข เริ่มกระสับกระส่าย กระวนกระวาย หรือเมื่อเด็กเริ่มรู้สึกผิดหวัง และร้องงอแง การให้เด็กได้แสดงท่าทหารนั่ง จะเป็นเสมือนการทำสัญญาณให้เด็กแสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากพฤติกรรมก่อกวนที่เคยมี เพื่อทำให้ผู้ทดสอบชมเชยด้วยความพอใจในพฤติกรรมที่เหมาะสมของตน

      หมั่นใช้ข้อความชมเชยเด็กในเรื่องที่ทำให้คุณพอใจระหว่างการทดสอบบ่อย ๆ
 
       1.  ตั้งใจฟังกันดีเยี่ยม
       2.  ขอบใจที่ลดเสียงลง
       3.  เยี่ยมมากที่รู้จักพูดกันแบบผู้ใหญ่
       4.  ครูชอบวิธีที่เธอทำตามคำสั่งจัง
       5.  ครูภูมิใจมากที่เธอรอจนกว่าครูสั่งจบ แล้วถึงเริ่มกิจกรรม
       6.  เธอนั่งเอามือแนบกับตัวได้ดีเหลือเกิน
       7.  ขอบใจนะ ที่ตอบคำถามของครู
       8.  เธอทำตัวสุภาพได้ดีเยี่ยมเลยนะ
       9.  ครูชอบที่เธอแสดงว่ากำลังตั้งใจฟัง
      10. ครูภูมิใจในความพยายามของเธอ แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากนักหนาก็ตาม
      11. เธอทำตัวดีมากที่นั่งอยู่กับที่
      12. ขอบใจที่เธอระวังดูแลหนังสือเป็นอย่างดี
      13. ครูชอบที่เธอนำของกลับมาคืนให้ครูได้เร็วดี
      14. เธอทำท่าเตรียมพร้อมได้ดีเยี่ยมเลย
      15. ขอบใจที่เธอได้พยายามอย่างที่สุด
      16. เธอทำตามที่ครูบอกทุกอย่างได้ดีมาก
      17. ครูชอบที่เธอนั่งนิ่ง ๆ
      18. ขอบใจที่ยอมให้ครูถือหนังสือและเปิดหน้าเอง
      19. ครูภูมิใจในตัวเธอ ที่เธอมองตรงมาที่ครูเวลาครูพูดด้วย
      20. ครูพอใจนะที่เธอกลับมานั่งที่โต๊ะ พร้อมที่จะทำงาน


จบตอนที่ 1
แปลและเรียบเรียงจาก Who is Testing Whom โดยส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก