ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

วิธีช่วยให้เด็กเขียนหนังสือได้ดี: บทสัมภาษณ์ Steve Graham

Dale S. Brown (2007)

Steve Graham ศาสตราจารย์และหัวหน้าโครงการ Currey Ingram ด้านการศึกษาพิเศษที่ Vanderbilt University กล่าวว่า วิธีปฏิบัติที่อ้างอิงงานวิจัยที่มีประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่เด็กที่ความบกพร่องทางการเรียนรู้ มีอยู่ 3 วิธี คือ ครูควรจะ (ก) สอนเด็กอย่างชัดเจนถึงวิธีการวางแผน ทบทวน และแก้ไขเรียบเรียงข้อเขียนของตน (ข) กำหนดเป้าหมายของการบ้านให้เฉพาะเจาะจงลงไปและสามารถทำให้สำเร็จได้จริง และ (ค) สอนโปรแกรม word processing ให้เด็ก และอนุญาตให้เด็กใช้โปรแกรมนี้ทำการบ้านได้ ทั้งสามวิธีนี้เป็น 3 ใน 11 คำแนะนำที่ปรากฏอยู่ในรายงานที่เพิ่งมีการเผยแพร่ชื่อ จงเขียนต่อไปเรื่อยๆ กลยุทธ์ที่ได้ผลดีเพื่อพัฒนาการเขียนของเยาวชนในโรงเรียนทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย (Writing Next: Effective Strategies to Improve Writing of Adolescents in Middle and High School) ที่เขียนโดยองค์กรชื่อ สมาพันธ์เพื่อการศึกษาที่เป็นเลิศ (Alliance for Excellent Education) ของสหรัฐอเมริกา ผู้เขียนรายงานคนแรก คือ Graham เอง ได้อธิบายไว้ว่า งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ได้รับประโยชน์จากกลยุทธ์ดังกล่าวข้างต้น เช่นเดียวกับเด็กนักเรียนทั่วไป แต่จะได้รับประโยชน์มากเป็นพิเศษจากคำแนะนำ 3 ข้อดังกล่าว

 

ยกตัวอย่างเช่น เด็กมากกว่ายี่สิบห้าคน แสดงให้เห็นว่ามีการปรับปรุงด้านทักษะการเขียนที่ดีขึ้น เมื่อครูสอนเด็กให้รู้จักวิธีการวางแผน ทบทวน และแก้ไขเรียบเรียงงาน/การบ้านของตนอย่างชัดเจน

 

“หลักการ ‘ครั้งเดียว ใช้ได้’ (once and done) ไม่สามารถนำมาใช้กับกรณีของเด็กเหล่านี้ได้” เขาอธิบาย “เราพบว่าในกลุ่มเด็กที่มีการควบคุมดูแล ครูจะมีการนำเสนอต่อชั้นเรียนเพียงครั้งเดียว แต่เด็กๆ มักไม่เข้าใจ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ หรือที่เรียกกันว่า ช่วยเป็นแกน เป็นหลัก ให้เด็ก คุณจะต้องก้าวข้ามเรื่องนี้ให้ได้ และต้องมั่นใจด้วยว่าเด็ก ๆ จะเข้าใจ”  

 

Graham แนะนำว่า ครูที่สอนตามแผนการศึกษาสายสามัญ ซึ่งส่วนใหญ่มีเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในชั้นเรียนของตน ก็จะมีการสอนที่เป็นระบบระเบียบมาก “ต้องสอนอย่างเป็นระบบ และมีความชัดเจน มีการยกตัวอย่าง บอกให้รู้ แสดงให้เห็น และให้ลงมือทำ บอกเด็กให้ชัดเจนว่าคุณต้องการอะไรแน่ ตัวอย่าง เช่น จะดีกว่าหรือไม่ถ้าหากคุณเป็นคนกำหนดหัวข้อรายงานเอง หรือเป็นคนเสนอหลาย ๆ หัวข้อให้เด็กเลือก ดีกว่าจะให้เด็กเลือกหัวข้อที่จะเขียนเอง ยกเว้นแต่ว่า เด็กคนนั้นจะเลือกเองไม่ได้”

 

เขาชี้ให้เห็นว่าการสอนที่จะช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้นั้น มักจะช่วยปรับปรุงผลการเรียนของเด็กได้ทั้งชั้น ยกตัวอย่างโปรแกรม Word processing ที่มีประโยชน์กับทุกคน แต่เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จะรู้สึกว่า การพิมพ์งานด้วยคอมพิวเตอร์นั้น ดูจะง่ายกว่าการเขียนด้วยลายมือ อีกทั้งเครื่องมือตรวจการสะกดและไวยากรณ์ ก็เข้ามาช่วยเด็กที่มีความบกพร่องทางการอ่านได้เป็นอย่างดี

 

อย่างไรก็ตาม การสอนบางวิธีไม่จำเป็นต้องสอนตัวต่อตัว เช่น เขาแนะนำว่าคุณอาจต่อเวลาพิเศษให้เด็กสักสิบห้านาที สามครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อเน้นเรื่องทักษะการเขียนลายมือ ครูก็สามารถขอให้เด็กคัดลอกประโยคที่ใช้ตัวอักษรที่กำลังเรียนอยู่ได้ เมื่อเด็กเขียนเองได้อย่างถูกต้อง คุณก็ขอให้เด็กเขียนประโยคนั้นซ้ำ ๆ ให้มากครั้งที่สุดเท่าที่จะทำได้ ภายในสามนาที จากนั้น คุณก็อาจขอให้เด็กเขียนใหม่อีก แต่ให้เร็วขึ้นกว่า เดิม (ให้เร็วขึ้นจากเดิมประมาณสิบเปอร์เซ็นต์) 

 

เขาอธิบายต่อไปว่า เป้าหมายก็คือ ต้องแน่ใจว่าเด็กจะยังคงเขียนให้สามารถอ่านออกได้ต่อไป ขณะที่ต้องเร่งความเร็วในการเขียนให้มากขึ้น การศึกษาพิเศษหรือครูประจำห้องเสริมวิชาการ จะสามารถช่วยเด็กในการทำแบบฝึกหัดในลักษณะนี้ได้

 

แปลและเรียบเรียงจาก How to Help Your Students Write Well: An Interview with Steve Graham โดย Dale S. Brown โดยส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก