ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

เส้นทางสู่การเขียน: เสริมความกระตือรือร้นในการเขียนให้แข็งแกร่ง ตอนที่ 2

Regina G. Richards (2008)

การนำเด็กไปบนเส้นทางแห่งความกระตือรือร้นและความมั่นใจในตนเอง

ในฐานะของครู และ/หรือ ผู้ปกครอง เราจำเป็นต้องช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ถึงความดีใจที่ได้คิดประโยคดี ๆ ที่แสดงออกถึงความคิดและความรู้สึกของตนออกมา สิ่งท้าทายได้แก่ความสามารถในการสื่อให้เด็กรับรู้ว่า การเขียนนั้นก็ทำให้เราสนุกได้ แม้ว่าจะมีข้อกำหนดมากมายก็ตาม ด้วยเหตุที่การฝึกฝนและการทำซ้ำๆ นั้นเป็นเรื่องสำคัญ

เราจึงควรให้กำลังใจเด็กให้อยากเขียน โดยไม่ต้องสนใจกับระดับทักษะหรือความเก่งหรือไม่เก่งภาษาของเด็ก เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว เราต้องทำให้เด็กมีพื้นของประสบการณ์เกี่ยวกับแนวคิดและคำศัพท์ ไปพร้อมๆ กับการกระตุ้นให้เด็กมีความกระตือรือร้นในหัวข้อเรื่องที่จะเขียนด้วย

การเตรียมการ

ให้เด็กได้รับทราบข้อมูลของความเป็นมา และมีประสบการณ์เรื่องแนวความคิด ก่อนจะเริ่มลงมือเขียน เตรียมสมองให้รู้จักสร้างจินตนาการที่จำเป็นต้องมี หรือแนวความคิดที่กำลังจะเกิดขึ้น ตัวอย่างของการเตรียมการ ได้แก่ การนำเสนอวัตถุประสงค์ของบทเรียนล่วงหน้า การอ่านเรื่องราวอย่างสนุกสนานหรือเพลิดเพลินกับการแสดงบทบาทสมมติในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน

กลยุทธ์ของการเตรียมการบางอย่างที่เราจะต้องใช้ ก่อนให้เด็กเริ่มทำกิจกรรมการเขียน ได้แก่

@ ติดข้อความตลกขบขัน หรือแง่คิดที่ดึงดูดความสนใจไว้บนกระดานข่าว เพื่อชักจูงให้เกิดการสนทนา

@ ใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดงเพื่อนำเสนอแนวคิดตามหัวข้อเรื่อง

@ สร้างประสบการณ์/กิจกรรมเกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความรู้ในเบื้องต้นก่อน

@ จัดทำชาร์ต KWL ของเด็กแต่ละคนและทั้งกลุ่ม เป็นชาร์ตขนาดใหญ่ที่แบ่งออกเป็นสามแถวในแนวตั้ง (Column) ประกอบด้วย

แถว K ที่สื่อความว่า ‘คุณ รู้ อะไรบ้าง’ ซึ่งมาจากประโยคภาษาอังกฤษว่า ‘What do you know?’

แถว W สื่อความว่า ‘คุณ ต้องการ รู้อะไรบ้าง’ มาจากประโยคภาษาอังกฤษว่า ‘What do you want to know?’

แถว L สื่อความว่า ‘คุณได้ เรียนรู้ อะไรไปบ้าง’ มาจากประโยคภาษาอังกฤษว่า ‘What have you learned?’ แถว L นี้ จะต้องทำหลังจากการสนทนาหรือการทำงานวิจัยจบลงแล้ว

@ จัดทำ ‘ภาพช่วยบอกบท’ (Picture Prompt) สถานการณ์ของการแสดงบทบาทสมมติ หรือเพลง มาผสมผสานกับกลยุทธ์แบบใดแบบหนึ่งที่กล่าวมาข้างต้น

@ ถามถึงความคาดหวัง ในเรื่องที่เด็กคาดว่าจะได้รับจากแนวคิดหรือการแสดงนั้นๆ

@ จัดทำแผนภาพของกลุ่มที่แสดงให้เห็นถึงส่วนประกอบเฉพาะของงาน หรือการระดมความคิดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมนี้


คำศัพท์

สมองของคนเราถูกตั้งโปรแกรมตามหลักชีวภาพ ให้สนใจในเนื้อหาที่แสดงออกถึงอารมณ์ขั้นรุนแรงมากก่อนเนื้อหาประเภทอื่น การเตรียมสิ่งที่มาทำให้เด็กรู้สึกตื่นเต้น มีการระบุข้อมูลสำคัญให้รู้ รวมทั้งการสร้างประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่จะเขียน จะช่วยในการสร้างฉากและเตรียมเด็กให้พร้อมจะเพ่งความสนใจไปยังแง่มุมต่าง ๆ ที่สำคัญ

การทำความเข้าใจในคำศัพท์ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรม มีความจำเป็นต่อความสามารถในการแสดงความคิดเห็น ในทำนองเดียวกัน การทำให้เด็กได้มีประสบการณ์ด้านคำศัพท์ที่เกี่ยว ข้องกับหัวข้อเรื่อง ถือว่าเป็นการเตรียมการอีกลักษณะหนึ่ง

มีประมาณการณ์บอกไว้ว่า เด็กจะเรียนรู้ “ประมาณ 3,000 – 4,000 คำในแต่ละปี รู้คำศัพท์สะสมจากการอ่านประมาณ 25,000 คำเมื่อเรียนจบระดับประถมศึกษา และประมาณ 50,000 คำเมื่อศึกษาจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย”  เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ มักจะรู้คำศัพท์น้อยกว่าปกติ เหตุสำคัญเป็นเพราะขาดการอ่านหนังสือที่ท้าทายความสามารถและความสามารถของเด็กที่ยังไม่แตกต่างกันนัก”  ดังนั้น เด็กคนใดที่หลบเลี่ยงไม่ยอมร่วมกิจกรรมการอ่านและเขียน ย่อมเสียเปรียบคนอื่นอย่างเห็นได้ชัด

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จำเป็นต้องทุ่มเทความพยายามในเรื่องของคำศัพท์เมื่อร่วมทำกิจกรรมกลุ่มกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน หากเด็กเห็นว่านี้ยังยากสำหรับตน ก็จำเป็นต้องปรับโครงสร้างของกิจกรรมเรื่องคำศัพท์และการสอนเสียใหม่ โดยการใช้เนื้อหาที่ต่างไปจากเดิม และ/หรือรูปแบบของบริบทที่แตกต่างออกไป การสอนที่ได้ผล โดยเฉพาะกับเด็กเหล่านี้ ต้องอาศัยทั้งคำสั่ง และการสอนคำและศัพท์ต่าง ๆ เพิ่มเติมอย่างตรงไปตรงมา ผ่านการเรียนรู้โดยบังเอิญ (Incidental Learning)

หลักการสำคัญที่แสดงถึงลักษณะพิเศษของการสอนคำศัพท์อย่างมีประสิทธิผล ประกอบด้วย

@ การเน้นข้อมูล ทั้งในแง่ของคำจำกัดความและบริบทของคำ

@ การให้เด็กมีส่วนร่วมในการประมวลผลเชิงลึกของคำต่างๆ รวมทั้งการสร้างข้อมูลที่มีความเกี่ยวพันระหว่างคำใหม่กับข้อมูลเดิมที่เด็กรู้อยู่แล้ว การเรียนรู้เรื่องการสร้างความเชื่อมโยงในลักษณะนี้ไว้ให้มากๆ ย่อมช่วยให้เด็กสามารถเชื่อมโยงคำศัพท์ใหม่เข้ากับความรู้เดิมของตนได้

@ การสอนคำที่เป็นกลุ่มหรือที่มีเนื้อสาระร่วมกัน จะดีกว่าการสอนเป็นคำเดียวโดดๆ เพราะการเรียนรู้ศัพท์นั้น ต้องการการตอกย้ำ และส่วนอื่นๆที่เข้ามาช่วยเสริมอีกมาก (ความเชื่อมโยงของความหมายของคำ และสถานการณ์ของบริบทที่แตกต่างกัน)

@ ความแน่ใจว่า การสอนคำศัพท์นั้นมีลักษณะการโต้ตอบ ให้ความรู้สึกที่หลากหลาย และเด็กมีส่วนร่วมได้อย่างกระฉับกระเฉง


ตัวอย่างของภาพเพื่อการนำเสนอหรือภาพกราฟฟิกส์ (Graphics) บางประเภท
 
แผนภาพธรรมดาๆ เกี่ยวกับปลาวาฬนี้ แสดงถึงความคิดหลักๆ และรายละเอียดเสริม

ภาพนี้จัดทำขึ้นโดยเด็กนักเรียนคนหนึ่ง ที่ใช้รูปแบบของผู้เริ่มต้นการเขียน


สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม                    สัตว์เลื้อยคลาน

 
ไดอะแกรมแบบเว็นน์นี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์เลื้อยคลาน เช่นเดียวกับความเหมือน (ในส่วนตรงกลางภาพ)
 
รูปนักมายากล
 
Is Mr. Magic losing his hair or hare or both?

(คุณนักมายากลคนนี้กำลังจะสูญเสีย ผม หรือ กระต่ายป่า หรือทั้งสองอย่าง)

ภาพของนักมายากลนี้ สื่อถึงการใช้ความหมายจากภาพ แทนคำสองคำ คือ hair และ hare ในรูปแบบของภาพกราฟฟิกส์ เด็กบางคนอาจชอบวาดรูปการ์ตูนเองเพื่อสื่อความหมาย

ความหมายของBill

แผนที่ความคิดง่าย ๆ สำหรับคำว่า bill คำว่า bill อาจหมายถึงใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้า หรือไม่ก็หมายถึงจงอยปากนกกระสา เด็กจะมีความสนุกสนานไปกับปริศนาอะไรเอ่ยเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะทำ ซึ่งจะช่วยทำให้เด็กจำได้ What happened to the pelican who stuck his head in the light socket? : อะไรจะเกิดขึ้นกับนกกระสาที่หัวทิ่มลงไปในปลั๊กไฟ? เฉลย He now has an electric bill. : ตอนนี้ จงอยปากของมันก็มีไฟฟ้าน่ะสิ หรือในความหมายอย่างขบขันอีกนัยหนึ่งว่า มันก็จะได้ใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าน่ะสิ


………………………………………………………………………………………………..



 

แปลและเรียบเรียงจาก The Writing Road: Reinvigorate Your Students’ Enthusiasm for Writing By Regina G. Richards (2008) โดยส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก