ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

แนวทางในการทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ตอนที่ 2 (02/02/2011)

โดย มาร์ซี แมคกาฮี-โคแวค (2002)

ฉันจะพัฒนาการทำ IEP ของตนเองได้อย่างไร
ควรทำอะไรก่อนการประชุม IEP

  1. บอกครอบครัวและครูของคุณว่า คุณสนใจในการเข้าร่วมประชุม IEP ครั้งต่อไป เป็นเรื่องสำคัญที่คุณจะต้องได้รับการสนับสนุนจากคุณพ่อคุณแม่และคุณครูของ คุณ  เพราะว่าพวกเขาจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือคุณ
  2. ถามคุณพ่อคุณแม่หรือคุณครูว่า เมื่อไรจะถึงกำหนดการประชุมทบทวน IEP ครั้งต่อไป จดวันที่ไว้
  3. ขอสำเนา IEP ฉบับปัจจุบันจากคุณพ่อคุณแม่หรือคุณครู
  4. อ่าน IEP ของคุณเองอย่างระมัดระวัง  IEP มีหลายส่วน..................
  5. ถามคุณพ่อคุณแม่หรือคุณครูให้อธิบายสิ่งที่เขียนลงใน IEP ทีละส่วนทีละส่วน

ถามคำถาม  ให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจแต่ละส่วนและข้อมูลใน IEP ของคุณ

ส่วนต่างๆ ใน IEP
ตามกฎหมายแล้ว IEP ของคุณต้องรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวคุณ ตามปกติแล้วข้อมูลเหล่านี้ถูกรวบรวมเป็นส่วนต่างๆ ของ IEP  IEP ฉบับใหม่ของคุณจะประกอบด้วยข้อมูลส่วนต่างๆ เหล่านี้

  • ระดับปัจจุบันของการแสดงผลทางการศึกษา: ส่วนนี้รวมไปถึงข้อมูลที่ถี่ถ้วนว่า คุณกำลังเรียนอะไรบ้างในโรงเรียน  และบางครั้งก็แสดงทัศนะอื่นๆ เกี่ยวกับชีวิตของคุณด้วย
  • เป้าหมายของแต่ละปี  แตกย่อยเป็นวัตถุประสงค์ระยะสั้นๆ หรือจุดมาตรฐาน
  • มีการศึกษาพิเศษหรือบริการช่วยเหลืออื่นใดที่โรงเรียนได้ตระเตรียมให้ท่าน
  • คำอธิบายว่า มีกี่วันที่คุณไม่ได้เข้าร่วมชั้นเรียนหรือกิจกรรมกับเด็กปกติ
  • คุณจะต้องการการปรับเปลี่ยนอย่างไร ถ้ามีการทดสอบในระดับชาติ หรือคำอธิบายว่าทำไมการทดสอบครั้งนี้จึงไม่เหมาะสมกับคุณ  ถ้าคุณไม่ทดสอบครั้งนี้แล้ว IEP ของคุณต้องระบุว่า คุณจะทดสอบอย่างไรแทน
  • เมื่อไรและที่ไหนที่โรงเรียนจะเริ่มให้บริการกับคุณ  บริการนั้นมีบ่อยแค่ไหน  และความคาดหวังว่าบริการจะกินเวลานานเท่าไร
  • โรงเรียนจะวัดความก้าวหน้าไปยังเป้าหมายของคุณอย่างไร  และโรงเรียนจะรายงานความก้าวหน้าให้กับคุณพ่อคุณแม่ของคุณอย่างไร
  • บริการช่วงเปลี่ยนผ่าน (จากโรงเรียนสู่อาชีพหรือมหาวิทยาลัย) ที่คุณต้องการเพื่อความพร้อมสำหรับชีวิตหลังจบจากมัธยมศึกษาตอนปลาย

การเขียน IEP ของคุณ

    1.   คุณจะต้องใช้กระดาษเปล่าหลายแผ่น  ดินสอหรือปากกา  (ถ้าคุณชอบใช้คอมพิวเตอร์ ก็เป็นการดีเหมือนกัน หรือเครื่องบันทึกเสียง คุณอาจให้เพื่อนจดบันทึกให้ด้วยเหมือนกัน)
    2.   เริ่มต้นโดยการบรรยายความบกพร่องของคุณ

      *  ความบกพร่องของคุณเรียกว่าอะไร
      *  ความบกพร่องของคุณมีผลกระทบต่อการเรียนที่โรงเรียนและที่บ้านของคุณอย่างไร (ตัวอย่างเช่น  สิ่งไหนในโรงเรียนที่คุณรู้สึกว่าทำได้ยากขึ้นเนื่องเพราะความบกพร่องของ คุณ)
      * คุณคิดว่าอะไรที่สำคัญที่คนอื่นๆ ควรรู้เกี่ยวกับความบกพร่องของคุณ

        ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าจะกล่าวอย่างไร  ให้คิดว่านักเรียนที่ต้องบันทึกเสียงควรจะพูดว่าอะไร  พวกเขาพรรณนาถึงความบกพร่องของตนเองว่าอย่างไร

        3.    ดูที่เป้าหมายของ IEP ฉบับเก่า (รวมถึงวัตถุประสงค์ระยะสั้นหรือจุดมาตรฐาน) คุณคิด

          ว่าคุณได้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์/จุดมาตรฐานแล้วหรือยัง  ทำเครื่องหมายที่
          เป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ท่านบรรลุแล้ว
          4.    เป้าหมายและวัตถุประสงค์/จุดมาตรฐานใดที่ท่านยังไม่บรรลุ   เขียนสิ่งเหล่านี้ลงบน
          กระดาษ  มันอาจสำคัญที่จะรวมใน IEP ฉบับใหม่ของคุณ
          5.   อะไรคือจุดแข็งและความต้องการในแต่ละชั้นหรือวิชา  ทำบัญชีไว้  นี่อาจยากที่จะทำ
          มีคำแนะนำที่จะช่วยเหลือคุณดังนี้
          * เริ่มต้นด้วยกระดาษเปล่า  เขียนหัวบนกระดาษแผ่นหนึ่งว่า “จุดแข็ง”  บนอีกแผ่นหนึ่งว่า “ความต้องการ”
          * ถามคำถามตัวเองด้วยส่วนที่เขียนว่า “ถามตัวเอง” ดังข้างล่าง  นี่จะช่วยคุณคิดเกี่ยวกับจุดแข็งและความต้องการของคุณเอง  เขียนความคิดลงบนกระดาษ
          “จุดแข็ง” และ “ความต้องการ”

          ถามตัวเอง

          • คุณเข้าชั้นเรียนวิชาใดบ้าง  ทำบัญชีไว้
          • ชั้นเรียนวิชาใดดีที่สุดสำหรับคุณ
          • คุณสามารถทำอะไรได้ดีในชั้นเรียนวิชานี้

          เหล่านี้คือจุดแข็งของคุณ (ตัวอย่างเช่น อ่าน เขียน ฟัง ทำงานเป็นกลุ่มทำงานลำพัง วาด ทำการบ้าน...)

          • อะไรที่ช่วยให้คุณทำได้ดี

          เหล่านี้อาจเป็นจุดแข็งของคุณ (ตัวอย่างเช่น ความสนใจในวิชานั้นๆ
          ความจำของคุณ  ความอดทน  ความมุ่งมั่น  ความพยายาม  ความ
          ช่วยเหลือของคนอื่นๆ (อะไรที่เป็นพิเศษ) วิธีที่ครูนำเสนอข้อมูลใหม่ๆ)

          • ชั้นเรียนวิชาใดที่ยากที่สุดสำหรับคุณ
          • สิ่งที่ยากที่สุดในชั้นเรียนวิชานี้สำหรับคุณคืออะไร

          เหล่านี้คือขอบเขตที่คุณต้องทำในระหว่างปีการศึกษา (ตัวอย่างเช่น การให้ความสนใจ  การอ่านหนังสือ  การฟังและการนั่งประจำที่  การจดจำข้อมูลใหม่  การทำการบ้าน  การทำงานเป็นกลุ่ม...)

          • การชดเชยในการเรียนแบบใดที่จะช่วยคุณให้เรียนหนังสือได้ดีขึ้นในชั้นเรียนนั้นๆ

          ให้ดูบัญชีการชดเชยในการเรียนในส่วนข้างล่างต่อไปที่เขียนว่า “บัญชีการชดเชยในการเรียน” เขียนลงไปว่าอะไรจะช่วยคุณในชั้นเรียนยากๆ

          • คุณจำเป็นต้องทำอะไรอีกในชั้นเรียนวิชาอื่นๆ

          สำรวจไปทีละวิชาและทำบัญชีสิ่งที่ยากสำหรับคุณในแต่ละวิชา  ให้เขียนเฉพาะเจาะจง  ตัวอย่างเช่น  ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์  คุณอาจพบว่า“เศษส่วน”  เป็นคำที่เป็นปัญหา  หรือทักษะคณิตศาสตร์อื่นๆ ที่ยากมาก

          • การชดเชยในห้องเรียนแบบใดที่จะช่วยคุณในแต่ละวิชาทำบัญชีสำหรับแต่ละวิชาไว้  จะช่วยคุณได้

          6.  แสดงเป้าหมายใน IEP ฉบับเก่าให้กับคุณพ่อคุณแม่และคุณครูดู  พวกเขาคิดว่าคุณบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นไหม  เป้าหมายใดที่คุณไม่ประสบผลสำเร็จ  เพิ่มความคิดของพวกเขาในบัญชีที่คุณเขียนในข้อ 4 ข้างบน
          7.  ถามคุณครูของคุณว่า อะไรคือจุดแข็งของคุณในแต่ละวิชา  เขียนความคิดลง
          8.   เขียนเป้าหมายและวัตถุประสงค์/จุดมาตรฐานสำหรับปีนี้  โดยใช้บัญชีที่จดจุดแข็งและความต้องการของคุณ รวมทั้งจากความเห็นของคุณพ่อคุณแม่และคุณครู
          9.   บรรยายถึงการชดเชยในห้องเรียนที่คุณอาจต้องการในแต่ละวิชาเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ใหม่นี้

            10.  คิดถึงการวางแผนสำหรับอนาคตและสิ่งที่คุณจะทำหลังจากจบจากมัธยมศึกษาตอน ปลาย  คุยกับคุณพ่อคุณแม่และคุณครูว่า คุณควรจะทำอะไรเพื่อเป็นการเตรียมพร้อม นี่เรียกว่า เป็นการวางแผนช่วงเปลี่ยนผ่าน
            11.  ร่วมกับคุณพ่อคุณแม่และคุณครูที่จะเขียน IEP ฉบับร่างซึ่งรวมข้อมูลทั้งหมดข้างบน  ทำสำเนาสำหรับตนเองที่จะเข้าร่วมการประชุม IEP   ทำสำเนาให้กับทุกๆ คนที่จะเข้าร่วมการประชุม

            บัญชีการชดเชยในห้องเรียน
            มาตรา 504 ของพระราชบัญญัติการฟื้นฟูปี 1973 ของสหรัฐอเมริกาเป็นกฎหมายสำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับคนพิการ  กฎหมายนี้กำหนดว่า  ต้องมีการชดเชยที่เหมาะสมในห้องเรียน  แต่อะไรคือการชดเชยที่เหมาะสม

            การชดเชยที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่โรงเรียนหรือครูของคุณสามารถทำได้เพื่อให้ เป็นการง่ายสำหรับคุณที่จะเรียนรู้การปรับเปลี่ยนสิ่งที่คุณกำลังเรียนหรือ วิธีที่พวกเขากำลังสอน  การชดเชยทั่วไปบางอย่างที่โรงเรียนทำเพื่อนักเรียนที่บกพร่องมีดังต่อไปนี้
            การชดเชยการจดโน้ต

            • ใช้เทปบันทึกเสียงในชั้นเรียน
            • ใช้โน้ตของนักเรียนคนอื่น
            • มีผู้จดโน้ตให้ในชั้นเรียน
            • ใช้โน้ตของครู
            • ใช้คอมพิวเตอร์หรือเครื่องพิมพ์ดีด

            การชดเชยการทดสอบ

            • ขยายเวลาการทดสอบให้
            • ทำการทดสอบในสถานที่เงียบๆ
            • อ่านแบบทดสอบให้คุณฟัง
            • ทำการทดสอบด้วยปากเปล่า

            การชดเชยเพิ่มเติม

            • ใช้หนังสือเรียนอ่านใส่เทป
            • มีหนังสือชุดสำหรับบ้านและโรงเรียนต่างหาก
            • มีห้องน้ำพิเศษ
            • ใช้เครื่องคิดเลขหรือพจนานุกรมในชั้นเรียน
            • มีเวลาเพิ่มเติมในแต่ละชั้นเรียน
            • นั่งแถวหน้าชั้นเรียน
            • ได้เวลาเพิ่มเติมที่จะทดสอบ PSAT (การสอบเตรียมความพร้อมนักเรียนที่มาจากโรงเรียนต่างกันให้มีมาตรฐานเดียว กัน) หรือ SAT (การสอบเข้ามหาวิทยาลัย)

            (ติดตามตอนต่อไป)

            แปลและเรียบเรียงจาก A Student’s Guide to the IEP ของ Marcy McGahee-Kovac
            โดย พรรษชล ศรีอิสราพร

            ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

            แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

            คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
            • พอใจมาก0
            • พอใจ0
            • ปานกลาง0
            • ไม่พอใจ0
            • ไม่พอใจมาก0
            ^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

            Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181