ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

นักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านที่ไม่ใช่ภาษา 10/05/2010

โดย จีน เอ็ม ฟอสส์ (1999)

กลุ่มผู้เรียนรู้ที่บกพร่องกลุ่มนี้เพิ่งจะเริ่มได้รับความเข้าใจและความสนใจที่พวกเขาต้องการ  เพื่อที่จะเข้าใจความยุ่งยากที่พวกเขาเผชิญและช่วยเหลือพวกเขาให้ใช้ความสามารถได้ดีที่สุด ขณะเดียวกับที่ลดผลกระทบของจุดอ่อนของพวกเขา  เราจำเป็นต้องรู้ถึงอาการและผลกระทบของมัน   มีความสับสนอย่างมากกับนิยามนี้ “บกพร่องทางการเรียนรู้ที่ไม่ใช่ภาษา”  นิยามนี้หมายถึงความจริงที่ว่า แต่ละบุคคลไม่ได้มีกระบวนการรับรู้ข้อมูลซึ่งไม่ใช่ภาษาตามธรรมชาติอย่างถี่ถ้วน  ในทางกลับกัน เกือบจะเป็นการเฉพาะพวกเขายึดถือในการตีความของคำที่พูดหรือเขียน  การตีความนี้มีแนวโน้มที่จะถือเป็นรูปธรรม  และมักปรากฎเป็นความแข็งกร้าว  ขาดความยืดหยุ่น เราอนุมานว่า การขาดการยืดหยุ่นนี้เป็นผลของความล้มเหลวที่จะรวบรวมข้อมูลของธรรมชาติที่ไม่ใช่ภาษาให้เป็นความเข้าใจ  ข้อมูลที่ไม่ใช่ภาษารวมไปถึงข้อมูลที่รู้โดยการสัมผัส ความรู้สึกในการเคลื่อนไหว  ข้อมูลที่มองเห็นในที่ว่างเปล่า  ข้อมูลที่มีผลกระทบ  ข้อมูลที่บังเกิดจากประสพการณ์ซึ่งผู้เรียนรู้ไม่ได้รับรู้เลย  ดังนั้นจึงไม่เชื่อมโยงหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับภาษา  แต่ละบุคคลเหล่านี้อาจพูดมากมาย  ภาษาที่แสดงออกของพวกเขาดูจะเป็นรูปธรรมและเต็มไปด้วยรายละเอียดที่มากเกิน  บทสนทนาของเขาแสดงถึงความสนใจต่อผู้ฟังเพียงน้อยนิดหรือไม่แสดงเลย

คำกล่าวต่อไปนี้มักเป็นความจริงสำหรับบุคคลที่บกพร่องทางการเรียนรู้ที่ไม่ใช่ภาษา

  • พวกเขาพูดมากแต่บอกเรื่องราวเพียงเล็กน้อย
  • พวกเขาเห็น “ต้นไม้” ไม่ใช่  “ป่า”
  • พวกเขาเพ่งเล็งที่รายละเอียดแต่ไม่เข้าใจความคิดหลัก
  • พวกเขาไม่ “มองภาพโดยรวม”
  • พวกเขาไม่ “อ่าน” การแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง การสื่อสารแง่มุมอื่นที่ไม่ใช่ภาษา  พวกเขามักพลาดในความเฉียบไวและความต่างของความรู้สึก
  • พวกเขาอาจจะมีปฏิกิริยาทางสังคมที่ไม่เหมาะสม
  • พวกเขามีเพื่อนแค่สองสามคน  มิตรภาพมีแนวโน้มที่จะมีกับคนที่อ่อนกว่าหรือแก่กว่ามากกว่าจะเป็นเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน
  • พวกเขามีแนวโน้มจะมีกระบวนการรับรู้ข้อมูลในทางตรง  รูปแบบการเรียงลำดับเหตุการณ์  ไม่มองเห็นมิติที่ซับซ้อน
  • ทั้งๆ ที่มีจุดแข็งในการเรียงลำดับหรือเรียบเรียงเหตุการณ์  พวกเขาก็อาจจะสับสนเรื่องความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรม  พวกเขามีความยุ่งยากที่เห็นได้ชัดในการรับรู้ถึงความเกี่ยวพันกันของสาเหตุและผลกระทบ
  • พวกเขามักจะ “ดับเครื่อง” เมื่อต้องเผชิญกับความกดดันที่จะแสดงออก  ความกดดันนั้นอาจจะมาจากความต้องการที่เกิดขึ้นพร้อมกันที่มากจนเกินไป  จากงานซึ่งดูเหมือนจะซับซ้อนจนเกินไป  หรือจากความคาดหวังที่จะให้แสดงออกในอัตราเร่งซึ่งดูเหมือนจะเร็วเกินไป
  • ในฐานะผู้ใหญ่  พวกเขามีแนวโน้มที่จะไม่ได้รับการจ้างงานอันเนื่องมาจากประสพการณ์ทางการศึกษาของพวกเขา

เราปรารถนาที่จะช่วยเหลือบุคคลที่ยังเยาว์วัยเหล่านี้ให้ปรับปรุงตนและบรรลุความสำเร็จในชีวิตของพวกเขา  แรกเริ่มทีเดียว  เรายอมรับว่า  พวกเขากระตือรือล้นที่จะเรียนรู้  ที่จะทำตัวให้เหมาะสม  ที่จะประสบความสำเร็จ  และที่จะทำสิ่งที่พวกเขาสามารถบรรลุเป้าหมาย  เราแสวงหาที่จะเข้าใจวิธีที่พวกเขาเรียนรู้  ที่จะทำตามคำสอนทางตรงและชัดแจ้งเพื่อแก้ไขความยุ่งยากเหล่านั้น  และใช้จุดแข็งของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
เราสามารถทำตนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าเราปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • ให้การถ่ายทอดที่เป็นภาษาสำหรับประสพการณ์ที่ไม่ใช่ภาษา  และในการเชื่อมโยงปฏิกิริยาของเขากับคนอื่นๆ  เมื่อใดก็ตามที่เหมาะสม
  • สอนพวกเขาให้ใช้จุดแข็งของตนเองในการวิเคราะห์ภาษา เพื่อที่จะถ่ายทอดประสพการณ์ของตนเอง
  • คาดคะเนสถานการณ์ซึ่งพวกเขาอาจจะพบความยุ่งยาก  และกระทำตนเป็นเครื่องกันชนและให้การสนับสนุนเพื่อก่อให้เกิดผลลัพท์ในทางบวกมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  ช่วยพวกเขาให้คาดการณ์ถึงสถานการณ์ที่ซึ่งพวกเขาอาจจะมีความยุ่งยาก  และให้วางแผนล่วงหน้าถึงการโต้ตอบที่เป็นทางเลือกบางอย่างที่พวกเขาอาจจะจำเป็นต้องโต้ตอบในสถานการณ์เหล่านั้น
  • สอนพวกเขาให้ตีความการแสดงออกทางสีหน้า ท่าทางและการสื่อสารแง่มุมอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษา
  • สอนพวกเขาให้เฝ้าระวังและตีความตัวบ่งชี้จากคนอื่นๆ ว่า พวกเขากำลังพูดมากเกินไป หรือว่าการสื่อสารไม่มีประสิทธิภาพในทางหนึ่งทางใด
  • ตรวจสอบความเข้าใจของพวกเขาเมื่อทำการสื่อสาร  และสอนพวกเขาให้ตรวจสอบความเข้าใจของตนเองและถามคำถามที่ให้ความกระจ่าง
  • ระมัดระวังเป็นพิเศษที่จะเชื่อมั่นในความเข้าใจของพวกเขาเมื่อมีการเห็นในที่ว่างเข้ามาเกี่ยวข้อง
  • ระมัดระวังที่จะทำให้ความเกี่ยวพันระหว่างสาเหตุและผลกระทบชัดเจน  เมื่อไรก็ตามที่ทำได้
  • ช่วยเหลือให้ผู้ที่เรียนรู้คาดคะเนความเกี่ยวพันระหว่างสาเหตุและผลกระทบเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความยุ่งยากในหลายๆ เรื่องของชีวิต
  • สอนและฝึกฝนทักษะการจัดระเบียบ
  • ควบคุมความต้องการที่จะให้แสดงออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้มั่นใจว่า พวกเขาจัดการกับมันได้และไม่ดูเป็นการเหลืออดเหลือทน
  • เชื่อถือในจุดแข็งทางด้านภาษา  ช่วยเหลือแต่ละคนให้ฝึกฝนและทำให้ภายในใจมีกระบวนการตัดสินใจ  การตั้งเป้าหมาย  การวางแผนและการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายเหล่านั้น  และมีผลสะท้อนกลับให้ได้ประเมินผลนั้น  ผลลัพธ์ของกระบวนการต้องให้ความน่าเชื่อถือจากความพยายามของตนเองและนำความสำเร็จ

ให้เชื่อมั่นและมีความหวัง  การช่วยเหลือดังข้างต้นสามารถสร้างผลที่แตกต่างในทางบวก

แปลและเรียบเรียงจาก Students with Nonverbal Learning Disabilities โดย Jean M Foss, MEd, Director of Clinical Teaching and Research ที่โรงเรียน ไพน์ ริดจ์ ในเมืองวิลลิสตัน มลรัฐเวอร์มอนต์
แปลและเรียบเรียงโดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก