ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

แรงจูงใจ (Motivation) กุญแจสู่ความสำเร็จทางการเรียน 08/09/2009

ปัญหาโดยทั่วไปที่ครูและผู้ปกครองประสบมากที่สุดเมื่อเริ่มต้นปีการศึกษาใหม่ คือ นักเรียนขาดแรงจูงใจที่จะเรียน (Motivation)
แรง จูงใจนี้อาจเกิดมาจากภายในใจเด็กหรือจากภายนอกก็ได้ เด็กที่ถูกกระตุ้นจาก ภายในเห็นได้จากความสนุกที่เขาได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เด็กที่แสดงให้เห็นที่โรงเรียนว่าได้รับการยอมรับจากพ่อแม่ ได้เกรดที่ดี ได้รับรางวัล เหล่านี้เป็นแรงจูงใจจากภายนอก มีงานวิจัยที่แสดงชัดเจนว่า เด็กๆ ที่มีแรงจูงใจจากภายในอาจประสบผลสำเร็จมากกว่า ขณะที่ครูและพ่อแม่มักพบว่า เด็กส่วนใหญ่แสวงหาแรงเสริมจากภายนอก พ่อแม่ที่ชอบถามคำถามที่ทำให้เด็ก เกิดคำถามต่อจะประสบความสำเร็จมากกว่าการพัฒนาแรงจูงใจจากภายใน ตัวอย่าง เช่น พ่อแม่ที่ให้ “รางวัล” ลูกเป็นของเล่นพิเศษ เมื่อลูกอ่านบทเรียนเกี่ยวกับเครื่องบินบินได้อย่างไร และสามารถทำการบ้านที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับส่วนต่างๆ ของเครื่องบินได้ การทำอย่างนี้ยังสร้างแรงจูงใจที่น้อยกว่าการที่พ่อแม่ช่วยเด็กค้นหาวิธีที่ เครื่องบินทำงานโดยการสร้างเครื่องบินจำลองและให้เด็กๆ ทำให้มันบิน ผู้ปกครองท่านนี้อาจจะถามถึงรูปแบบการบินของเครื่องบินว่า มีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร ขณะที่เด็กๆ สามารถจะทดลอง ค้นหา ค้นพบสิ่งใหม่ๆ และเกิดคำถามใหม่ๆ ที่แตกออกไปอีก
อย่าง ที่พ่อแม่และครูทราบอยู่แล้ว แรงจูงใจ (Motivation) มักแตกต่างกันขึ้นอยู่กับภาวะแวดล้อม บุคคลที่เกี่ยวข้อง ภารกิจที่ได้รับและสถานการณ์นั้นๆ เด็กแอลดีอาจไม่ ค่อยอยากเป็นนักอ่านเท่าใด ต่อต้านการอ่านบทเรียนทางวิทยาศาสตร์ หรือการทำการบ้าน แต่กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้การสาธิตการทำให้น้ำกลายเป็นไอในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์ของครู กุญแจสำหรับผู้เรียนรู้แต่ละคนคือ ต้องหาแรงจูงใจให้พบ

มีองค์ประกอบหลายประการที่คอยขัดขวางแรงจูงใจของนักเรียน ดังนี้
ความกลัวล้มเหลว
เด็กๆ อาจกลัวการทำงานให้สำเร็จเพราะมันอาจเกิดการผิดพลาด พวกเขากลัวการถูกมอง ว่า “โง่” ในสายตาของเพื่อนๆ คุณครู พี่ๆ น้องๆ หรือพ่อแม่ เด็กแอลดีบางคนอาจทำให้ชั้นเรียนไม่มีสมาธิด้วยอารมณ์ขันแปลกๆ อย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่เคยทำงานเสร็จหรือตอบคำถามในชั้นได้เลย แต่ใช้อารมณ์ ขันปกปิดความยุ่งยากในการอ่านและความไม่สามารถทำงานให้เสร็จเหมือนเพื่อนๆ ส่วนใหญ่ในชั้นเรียน
ขาดการท้าทาย
เด็กๆ อาจเบื่อแบบฝึกหัดที่โรงเรียน ซึ่งอาจเป็นเรื่องดีก็ได้ นักเรียนที่เก่ง เป็นพิเศษอาจรู้สึก “ไม่ได้รับแรงจูงใจ” ในชั้นเรียนที่ครูอธิบายซ้ำๆในเรื่องที่พวกเขาเข้าใจแล้ว ส่วนเด็กแอลดีอาจ รู้สึกเบื่อถ้าเรื่องที่เรียนอยู่ห่างไกลจากความสามารถในการรับรู้ของ เด็ก เด็กแอลดีอาจจะรู้สึก “ไม่ได้รับแรงจูงใจ” เหมือนกัน ถ้าครูมีความเชื่อว่า ขึ้นชื่อว่าเด็กแอลดีแล้ว มักขาดศักยภาพในการทำให้สำเร็จ ในกรณีนี้ ถ้าครูไม่ท้าทายเด็กแอลดีด้วยแรงจูงใจต่างๆ เด็กอาจสามารถรับรู้และเข้าใจ ว่าครูประเมินความสามารถตนเองไปแล้ว เด็กๆ จึงไม่ต้องการการกระตุ้นความสนใจมากกว่านี้ไปเอง
ไม่เห็นประโยชน์
นัก เรียนอาจเชื่อขึ้นมาเฉยๆ ว่า แบบฝึกหัดที่โรงเรียนไม่ได้มีความสลักสำคัญอะไร เพราะพวกเขามองไม่เห็นว่า มันเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะสร้างความลำบาก ใจกับเด็กแอลดีมาก ตัวอย่างเช่น นักเรียนที่มีปัญหาทางการมองเห็นอาจพบว่า มันยากมากที่จะแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง นักเรียน คนนั้นอาจคำนวณปัญหาผิดเพราะ โจทย์ปัญหาการบวกเลขยาวเหยียด ดูสับสนยุ่ง เหยิงไปหมด นักเรียนคนนั้นยังรู้ว่า เครื่องคิดเลขสามารถแก้ปัญหาการบวก เลขได้อย่างถูกต้องภายในเวลาอันรวดเร็ว เด็กคนนี้ก็จะไม่เห็นประโยชน์ของ ชั้นเรียนที่มีการบวกเลข หารเลข หรือวิธีการทางคณิตศาสตร์อื่นๆ
ปัญหาทางอารมณ์
เด็ก ที่มีปัญหาทางอารมณ์อาจมีความยุ่งยากในการเรียนรู้ เพราะไม่สามารถเพ่งความสนใจกับการเรียนได้ บางทีความกระวนกระวาย ความกลัว ภาวะซึมเศร้า หรือปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากทางบ้านอาจกำลังรบกวนอยู่ บ่อยครั้งที่เด็กแอลดีมีอารมณ์คับข้อง ใจเนื่องจากความบกพร่องทางการเรียนรู้ หรืออาจเป็นรูปแบบทางอารมณ์แบบอื่นๆ ซึ่งทำให้ลดแรงจูงใจ ในการเรียนในชั้นเรียน
ความโกรธ
เด็ก บางคนใช้การทำงานในชั้นเรียน หรือการไม่ทำงานในชั้นเรียน เป็นเครื่องแสดงออกถึงความโกรธต่อพ่อแม่ เรียกกันว่า เป็นวิธีการแสดงความก้าวร้าวในเชิงอดทน ตัวอย่างเช่น ถ้าเด็กคนหนึ่งรู้สึกมีความกดดันอย่างยิ่งยวดที่จะประสบความสำเร็จในการ เรียน ซึ่งเป็นเรื่องที่เด็กไม่สามารถจะทำได้ นักเรียนคนนั้นอาจตะโกนหรือ ทะเลาะกับพ่อแม่ แล้วก็ค่อนข้างจะเรียนได้เกรดต่ำๆ จึงเป็นสิ่งที่อยู่ในวิสัยการควบคุมของนักเรียนคนนั้น ยิ่งพ่อแม่พยายาม ควบคุมและสร้างการเสริมแรงต่างๆ คะแนนวิชาต่างๆ ยิ่งตกลง
ต้องการความสนใจ
เด็กๆ บางคนใช้การไม่ประสบผลสำเร็จในการเรียนเป็นวิธีเรียกร้องความสนใจจากพ่อ แม่ พ่อแม่ในโลกที่ก้าวไปอย่างรวดเร็วเช่นปัจจุบันนี้อาจไม่ให้ความสนใจ เด็กๆ ที่เรียนดีเหมือนอย่างที่เขาต้องการ เด็กๆ ที่กลับมาบ้าน ทำการบ้านเรียบร้อย ทำหน้าที่ของตนได้ดีและประสบผลดีในการเรียนอาจถูกละเลยไปเฉยๆ เพียงเพราะว่า พวกเขาไม่สร้างปัญหาใดๆ เด็กๆ ที่ดูเหมือนทำงานในชั้นเรียนไม่ค่อยได้มักได้รับการสนับสนุนและความสนใจ มากกว่า ความสนใจที่ให้กับเด็กๆ เป็นตัวกระตุ้นที่มีพลังมาก จึงควรทบทวนเป็นระยะๆ ว่า การกระทำแบบใดที่จะได้รับความสนใจจากเด็กๆ ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน
เด็ก แอลดีมักพบความยุ่งยากในการเรียนรู้และผ่านกระบวนการที่เจ็บปวด นักเรียน ที่เป็นเด็กแอลดีและมีอาการสมาธิสั้นหรือ hyperactive ร่วมด้วย มักพบความคับข้องใจในสถานการณ์การเรียนรู้ต่างๆ อยู่เสมอ ปัญหาความจำ ความยุ่งยากในการจำทิศทาง ความลำบากในการรับรู้ข้อมูลทั้งจากการเห็นและการ ได้ยิน และความไม่สามารถจะแสดงออกทางการเขียน เช่น การเขียนเรียงความ การจดบันทึกย่อ การทำการบ้าน การทดสอบ และปัญหาอื่นๆ สามารถทำให้การเรียนรู้เป็นเรื่องที่ “ไม่สร้างแรงจูงใจ” ใดๆ เด็กแอลดีและมีอาการสมาธิสั้นและ hyperactive ร่วมด้วย มักคิดว่า แม้จะขาดความสำเร็จในการเรียนที่โรงเรียน แต่ก็เป็นเรื่องไม่ คุ้มค่าที่จะพยายาม เพราะคะแนนของพวกเขามักต่ำกว่าคนอื่นๆ เสมอ เขาเลยไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างความพยายามที่เขาใช้ที่โรงเรียนกับ ความสำเร็จในการเรียน ดังนั้น การกระตุ้นให้พวกเขาประสบความสำเร็จในการ เรียนจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่ง
พ่อแม่จะช่วยเหลือได้อย่างไร
บรรดา พ่อแม่คือ ศูนย์กลางแรงจูงใจของเด็กๆ เลยทีเดียว การเริ่มต้นของปีการศึกษาใหม่เป็นเรื่องสำคัญมาก เด็กแอลดีที่ มีอาการสมาธิสั้นและ hyperactive ร่วมด้วย มักต้องดิ้นรนกับการเปลี่ยนแปลง พ่อแม่สามารถจะช่วยเหลือลูกๆ ให้มีการเริ่มต้นที่ดีได้ ดังนี้

  1. สร้างสิ่งแวดล้อมที่อบอุ่นและยอมรับกันภายในบ้าน
  2. ให้คำแนะนำและการตอบรับกลับ (Feedback) ที่ชัดเจน
  3. สร้างสรรค์รูปแบบสู่ความสำเร็จ
  4. เสริมจุดแข็งต่างๆ ของเด็กๆ
  5. พยายามเกี่ยวโยงบทเรียนที่โรงเรียนกับความสนใจของเด็กๆ
  6. ช่วยกันสร้างโครงสร้างของครอบครัว ซึ่งทำให้การเรียนและการทำงานบรรลุเป้าประสงค์อย่างต่อเนื่อง
  7. ช่วยเหลือให้เด็กๆ สามารถจะควบคุมตนเองได้ว่า จะเรียนเมื่อไรและอย่างไร
  8. เน้นหนักความก้าวหน้าของเด็กมากกว่าการเปรียบเทียบผลการเรียนกับนักเรียนคนอื่นๆ ในชั้นเรียน
  9. ให้การเสริมแรงพฤติกรรมที่ต้องการเสมอ
  10. ให้การเสริมแรงอย่างฉลาด คอยสร้างแรงจูงใจจากภายในจะได้ผลมากที่สุด

ติดตามความสนใจของเด็กๆ เท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งจะดีกว่าใช้เวลาสร้างระบบการให้รางวัลที่เหน็ดเหนื่อย

แปลและเรียบเรียงจาก Motivation: The Key to Academic Success โดย LD Online (2002)
แปลและเรียบเรียงโดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก