ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การให้ความช่วยเหลือเด็กที่บกพร่องทางการเขียน : การชดเชยในห้องเรียน 14/07/2009

เป็น ที่ทราบกันว่า เด็กแอลดี (LD-Learning Disabilities) หรือเด็กที่มีอาการบกพร่องทางการเรียนรู้จะมีความบกพร่องที่เป็นอาการหลัก อยู่ 3 ประการ คือ บกพร่องทางการอ่าน (dyslexia) บกพร่องทางการเขียน (dysgraphia) และบกพร่องทางการคิดคำนวณ (dyscalculia) เด็กบางคนมีอาการเดียว แต่บางคนก็มีหลายอาการผสมกัน สำหรับเด็กแอลดีที่บกพร่องทางการเขียน (dysgraphia) ก็จะต้องดิ้นรนลำบากกับการเขียนหนังสือให้ได้เหมือนคนอื่น (ลักษณะเฉพาะติดตามอ่านได้จากหนังสือ “สร้างด้วยใจเพื่อเด็กแอลดี”) ขอ นำบางส่วนบางตอนมาเสนอแนะวิธีการให้การช่วยเหลือเด็กแอลดีที่ต้องดิ้นรนใน การเขียนว่า เราจะช่วยชดเชยการเรียนของเขาเพิ่มเติมอย่างไร
ใน การทำความเข้าใจกับความบกพร่องทางการเขียนของเด็กแอลดีนั้น เราคงต้องทำ ความเข้าใจกับความรู้สึกของพวกเขา Richards กล่าวถึงความรู้สึกของ Eli เด็กชายที่เกลียดการเขียนว่า
“ผม สะบัดตัวไปมาเพื่อจะหยุดฝันกลางวันเสียที การเขียนเป็นงานที่เลวร้ายที่สุด ยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด มันเพียงแต่เป็นหนทางที่ยากเกินไปที่จะจดจำทุกสิ่งที่ ผมต้องการ อย่างเช่น ช่วงเวลาในหลายๆ ช่วงหรือตัวอักษรตัวใหญ่ และยิ่งกว่านั้น มันเป็นเรื่องเหลือเชื่อที่จะคิดถึงว่าจะสะกดคำเหล่านั้นว่าอย่างไร ขณะที่ ผมยังคงต้องวุ่นวายกับความพยายามที่จะคิดเรื่องราว มันยากมากที่จะจดจำสิ่ง ที่ผมกำลังเขียนถึง”
เด็ก แอลดีจะได้ประโยชน์เป็นอย่างมาก ถ้าเขาได้รับการช่วยเหลือในการแก้ปัญหาต่างๆ ด้านการเขียน เพราะบ่อยครั้งที่ความพยายามดิ้นรนที่จะเขียนไปรบกวนการเรียน รู้และกีดกันเด็กแอลดีจากการแสดงออกอย่างเต็มที่จากสิ่งที่เขาได้เรียน รู้ การให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมจะช่วยเด็กแอลดีให้ผ่านพ้นปัญหาต่างๆ และบรรลุเป้าหมายของกิจกรรมเสริมการเรียนต่างๆ
Regina G. Richards (2008) ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือเด็กแอลดีที่บกพร่องทางด้านการเขียนด้วยวิธีการชดเชยต่างๆ เช่น

การแบ่งงานเป็นลำดับขั้น
การแบ่งงานให้เป็นหน่วยย่อยเล็กๆ และให้ทำงานแต่ละชิ้นย่อยที่เป็นอิสระต่อกัน
เด็ก แอลดีบางคนจะรู้สึกว่างานเกินความสามารถ เพราะงานที่ได้รับมอบหมายมีชิ้น ใหญ่และมีหลายขั้นตอนเกินไป การแบ่งงานเป็นลำดับขั้นตอนจะช่วยเด็กแอลดีให้ มุ่งความสนใจไปที่งานย่อยแต่ละงานอย่างเต็มที่และเน้นหนักที่คุณภาพของงาน

ลดปริมาณงาน
ให้เด็กแอลดีแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์ที่น้อยข้อลง เขียนประโยคที่น้อยกว่าหรือเขียนเรื่องราวที่สั้นขึ้น
เด็ก บางคนทำงานหนักมากในแต่ละปัญหาซึ่งเขาพบว่า มันยากมากที่จะทำงานที่ได้รับมอบหมายทั้งหมดหรือแม้แต่เพ่งความสนใจไปที่ ความคิดรวบยอดของปัญหา นักเรียนที่พบความยุ่งยากในการเขียนนี้บางครั้งจะ เรียนรู้จากปัญหาได้มากกว่าเพราะสมาธิของเขามีประสิทธิภาพมากขึ้น การมอบ หมายงานที่น้อยกว่าให้เด็กแอลดีจะเป็นการกระตุ้นให้เด็กแอลดีมุ่งความสนใจไป ที่คุณภาพมากกว่าปริมาณ และบ่อยครั้งก็มีผลให้เด็กลดการเร่งรีบที่จะทำงาน เพียงให้เสร็จเร็วๆ

เพิ่มเวลา
ให้ เวลาเด็กแอลดีทำงานให้สำเร็จนานขึ้น บ่อยครั้งที่เด็กแอลดีอาจสามารถทำงาน ให้สมบูรณ์ได้ แต่ไม่สามารถทำได้ในเวลาเท่ากับเพื่อนวัยเดียวกัน เวลาที่ เพิ่มขึ้นจะช่วยลดแนวโน้มที่เด็กจะทำงานเพียงให้เสร็จโดยไว แต่กลับจะเพิ่ม ความสนใจไปที่คุณภาพมากขึ้น

การทำสำเนา
ลดความต้องการทำสำเนาลง เช่น การลอกจากกระดานดำ หรือแม้แต่การลอกจากกระดาษอีกแผ่น
บาง ครั้งนักเรียนที่มีความยุ่งยากในการเขียนทำผิดซ้ำสองเมื่อทำการลอก ข้อมูล ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่พวกเขาจะต้องได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ดังนั้น แทนที่จะให้พวกเขาได้ข้อมูลที่ต้องการจากการคัดลอกจากกระดานดำ ก็ใช้วิธี แจกจ่ายสำเนาที่พิมพ์ไว้ให้

เตรียมพร้อมสำหรับวิชาคณิตศาสตร์
ให้ ใช้กระดาษกราฟแผ่นใหญ่หรือกระดาษที่ดึงเข้าดึงออกจากเล่มได้ ซึ่งจะช่วยให้เด็กแอลดีเรียบเรียงเลขจำนวนเพื่อการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ที่มี หลายขั้นตอนได้อย่างเหมาะสม

ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเขียน
ยอมให้นักเรียนแอลดีเลือกใช้รูปแบบการเขียนที่สะดวกสบายที่สุด
นัก เรียนแอลดีบางคนสามารถเขียนลายมือได้ดี ขณะที่นักเรียนบางคนควรได้รับ อนุญาตให้ใช้คอมพิวเตอร์ในการเขียนงานส่งแทน ซึ่งจะช่วยเด็กในการลำดับขั้น ตอนความคิดได้มีประสิทธิภาพขึ้น โดยที่เด็กไม่ต้องคำนึงเรื่องรูปแบบตัว อักษรและช่องไฟอีกต่อไป

การสะกดคำ

ยอม ให้เด็กแอลดีเขียนสะกดผิดในการเขียนงานในชั้นเรียนได้ แต่ต้องให้รับผิดชอบ แก้ไขการสะกดให้ถูกในการเขียนงานครั้งสุดท้าย โดยควรสนับสนุนให้ใช้การตรวจ สอบจากพจนานุกรมการพ้องเสียงได้

ข้อควรระวัง : เป็น การไม่เหมาะสมและไม่ก่อให้เกิดผลที่ดีถ้าจะรั้งเด็กที่มีปัญหาในการเขียนไว้ ในช่วงพักนานเกินไปเพื่อให้เขาทำงานเสร็จ เด็กเหล่านี้ต้องการเวลาในการ เคลื่อนไหวตัวเองมากขึ้นไม่ใช่น้อยลง

การใช้คีย์บอร์ด
ใน การชดเชยความบกพร่องของนักเรียนแอลดีที่บกพร่องทางการเขียนซึ่งต้องดิ้นรน กับรูปแบบการเขียนตัวอักษรและช่องไฟนั้น วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือพัฒนาทักษะการใช้คีย์บอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่พึงสังวรณ์ไว้ว่า เป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงการใช้กระดาษและปากกา-ดินสอจนตลอดชีวิต ดัง นั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่นักเรียนแอลดีแต่ละคนจำเป็นต้องพัฒนาทักษะการ เขียนลายมือขั้นพื้นฐานด้วย
กลยุทธ์ การใช้ประสาทสัมผัสหลายประเภทเป็นการเฉพาะ (multisensory) ได้รับการออกแบบสำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการเขียน ถือว่าเป็นประโยชน์ ต่อนักเรียนแอลดีทุกคนที่ต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาการเขียนรูปแบบตัว อักษรที่เหมาะสมและการเคลื่อนไหวมือโดยอัตโนมัติ กลยุทธ์การรักษาโดยเฉพาะ เช่น การเขียนในอากาศ การใช้กระดานดำ และการเสริมแรงด้วยการสัมผัสมีประสิทธิภาพมากที่สุด (Richards,1999)
ปัจจุบัน นี้ ทักษะการใช้คีย์บอร์ดเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับนักเรียนทุกคน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งกับนักเรียนแอลดีที่ต้องดิ้นรนเพราะมีปัญหายุ่งยากในการเขียนและ การสะกดคำ เด็กๆ สามารถเรียนรู้ทักษะการใช้คีย์บอร์ดได้ตั้งแต่ยังเยาว์วัย อย่างไรก็ ตาม ทักษะการใช้คีย์บอร์ดต้องการการฝึกฝน และเด็กๆ มักบ่นกันว่า การฝึกใช้เป็นเรื่องน่าเบื่ออย่างมาก เรื่องนี้จึงเป็นปัญหา เพราะความถี่ และความสม่ำเสมอในการฝึกใช้เป็นเรื่องสำคัญมากในการพัฒนาทักษะจนถึงขั้น อัตโนมัติ ดังนั้น จะเป็นประโยชน์มากถ้านักเรียนจะฝึกใช้คีย์บอร์ดเป็นประจำวัน โดยใช้เวลา สั้นๆ ในแต่ละวันเท่านั้น ในช่วงระดับประถมศึกษาตอนต้น เด็กๆ อาจฝึกใช้เพียงคืนละแค่ 5-10 นาที ในระดับประถมศึกษาตอนปลาย ช่วงการฝึกอาจเพิ่มเป็นคืนละ 10-15 นาที ถ้าเป็นช่วงวัยรุ่น อาจต้องขยายระยะเวลาการฝึกเป็น 15-20 นาทีต่อคืน เพราะความสม่ำเสมอของการฝึกเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง
ยัง มีโปรแกรมซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพและสนุกสนานอีกมากมายที่นักเรียนสามารถ จะสรรหามาศึกษาเพื่อฝึกการใช้คีย์บอร์ดให้เหมาะสม การเข้าถึงโปรแกรมต่างๆ เหล่านี้จะช่วยลดความน่าเบื่อ และให้ทางเลือกกับนักเรียนในการใช้โปรแกรม ที่แตกต่างกันในแต่ละคืน
ใน ตอนเริ่มต้น ขณะที่นักเรียนกำลังคิดที่จะพิมพ์เนื้อหาลงไป การกดแป้นพิมพ์ ด้วยนิ้วที่ถูกต้องอาจไม่จำเป็น เพราะเป็นช่วงที่ต้องเพิ่มความจำขณะทำ งานอยู่ นักเรียนส่วนใหญ่จะมีนิสัยการฝึกพิมพ์ที่ถูกพัฒนาไปทีละเล็กละน้อยด้วยการ ใช้นิ้วกดแป้นพิมพ์และการมีสมาธิกับการคิดเนื้อหาไปด้วย

การจดบันทึกย่อ
นัก เรียนที่มีปัญหาดิ้นรนกับการเขียนส่วนใหญ่จะช้ามากเมื่อต้องจดบันทึก ย่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนชั้นโตในระดับมัธยมปลายหรือนักศึกษาใน มหาวิทยาลัยซึ่งต้องใช้ทักษะการจดบันทึกย่อมาก พวกคอมพิวเตอร์แล็ปทอบจะ สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก แม้ว่ามันจะหนักที่จะหิ้วไปมา อีกทั้ง ยังแพงและอาจมีปัญหาตกหล่นได้ นอกจากนี้ ทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งคือ การใช้คอมพิวเตอร์แบบ Palm เอาไว้จดการบ้านหรือสิ่งที่ต้องทำ
นัก เรียนที่มีปัญหาการเขียนยังมีปัญหาการสะกดคำอีกด้วย แม้ว่าพวกเขาจะสะกดคำ ได้อย่างถูกต้องในการทดสอบสะกดคำประจำสัปดาห์ แต่เมื่อพวกเขาต้องคิดถึง เนื้อหาไปด้วย ก็อาจยากมากขึ้นที่เขาจะต้องสะกดคำให้ถูกด้วย นักเรียนบาง คนก็สามารถใช้คำได้ถูกต้องอย่างง่ายๆ แต่บางคนก็สะกดคำผิดได้ง่ายๆ เช่นกัน
เมื่อ นักเรียนใช้วิธีการทำงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอนนั้น แรกทีเดียวพวกเขาอาจ มุ่งความสนใจไปที่โครงร่างก่อน แล้วก็เขียนหรือพิมพ์เป็นร่างแรก ขั้นต่อ ไปคือ ต้องกลับไปทำการแก้ไขคำที่สะกดผิด

อาการมือล้า
คำ บ่นของนักเรียนที่ต้องดิ้นรนกับการเขียนที่ได้ยินเสมอๆ คือ เกิดอาการเมื่อยมือเมื่อเขียน ซึ่งเรื่องนี้ขึ้นกับองค์ประกอบหลายอย่าง องค์ประกอบที่สามัญที่สุดคือ การจับที่ไม่เหมาะสม การจับดินสอที่แน่นมากเกินไป หรือท่าทางการเขียนที่ไม่เหมาะสม
นัก เรียนสามารถช่วยลดอาการเมื่อยล้าของมือได้ด้วยกิจกรรมการวอร์มอัพระหว่างการ เขียนหนังสือ กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยนักเรียนให้จัดการกับกล้ามเนื้อหรือ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อของมือที่เขียน เช่น

  • ถูอุ้งมือเข้าด้วยกัน
  • สั่นมือทั้งคู่เบาๆ แต่หนักแน่น
  • ประสานมือเข้าด้วยกันและยืดขึ้นตรงๆ

ข้อควรระวังสำหรับคุณครู
สิ่ง หนึ่งที่จะช่วยชดเชยความบกพร่องของเด็กๆ ที่ดิ้นรนกับการเขียนคือ มีคุณครูที่เข้าใจ สำหรับนักเรียนบางคนแล้ว เป็นไปไม่ได้เลยที่จะเขียน หนังสือได้เรียบร้อย ขณะที่กำลังมุ่งความสนใจไปที่เนื้อหาในขณะเดียว กัน จากการต้องทำความเข้าใจกับเด็กที่บกพร่องทางการเขียน Richards (2008) เล่าว่า
Eli คิดว่า เป็นเรื่องง่ายกว่าที่จะเขียนเพียงแค่สอง-สามประโยค ซึ่งไม่ทำให้เขาปวดมือ ด้วยเหมือนกัน ครูของเขาบ่นเสมอว่า Eli เขียนแต่เรื่องที่สั้นมาก ทั้งนี้ทั้งนั้น บรรดาคุณครูไม่เข้าใจเขาเลยว่า เขาต้องดิ้นรนที่จะเขียนมากเพียงใด แล้วยังกลับได้ผลลัพธ์เป็นกระดาษที่ สกปรกและเต็มไปด้วยคำผิด คุณครูต่างบอกเขาว่า กระดาษส่งงานของเขายุ่งเหยิงจริงๆ แต่ไม่อาจเข้าใจว่า เขาได้พยายามมาแล้วอย่างยิ่งยวด แต่ไม่ว่าเขาจะระมัด ระวังในการทำงานเพียงใด บรรดาคำต่างๆ ที่เขาเขียนก็ไม่ได้เป็นเหมือนอย่างที่เขาอยากให้เป็น บางครั้งเขาก็รู้ว่า เขาอยากให้ตัวอักษรมีหน้าตาออกมาเป็น อย่างไร แต่มันก็ไม่ออกมาอย่างนั้น
นี่ คือ สาเหตุว่าทำไมวิธีการแบบใช้ลำดับขั้นตอนจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะ เราต้องการให้เด็กมุ่งความสนใจไปที่เรื่องหนึ่งหรือสองเรื่องในแต่ละครั้ง เท่านั้น เรื่องนี้จะช่วยลดความกดดันให้กับเด็กแอลดีแต่ละคนได้

แปลและเรียบเรียงจาก | Helping Students Who Struggle to write: Classroom Compensation. โดย Richards, R.G. (2008) จาก www.ldonline.org
แปลและเรียบเรียงโดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181